วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

HEMP กัญชง


 

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะทั่วไปของกัญชง

‘Indian hemp’ยังสามารถหมายถึงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า Hibiscus cannabinus ซึ่งเราจะใช้ประโยชน์จากเส้นใยของมัน
Bhanga, vijaya (สันสกฤต)
Bhang, bhangi, ganja, charas, siddhi, jia (ฮินดู, เบงกอล, กุจาราช, ทามิล)
ชื่อทางพฤษศาสตร์ : Cannabis sativa
ตระกูล : Cannabaceae, ซึ่งเป็นตระกูลของ hemp
แหล่งกำเนิด hemp
Hemp มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และทวีปยุโรป ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในพื้นที่ได้ช่วยกำหนดสายพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ และลักษณะเฉพาะเหล่านั้นได้ถูกพัฒนาตามความตั้งใจในการใช้งาน สายพันธุ์จากอินเดียเติบโตโดยมี tetrahydrocannabinol หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตใจในระดับที่สูง สายพันธุ์จากยุโรปจะคัดเลือกจากเมล็ดซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้ ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นอาหารและน้ำมัน สายพันธุ์จากจีนจะมีเส้นใยที่มีคุณภาพสูงและมีระดับของ THC ต่ำ
ประวัติ
ในอินเดีย hemp ถูกใช้มากในรูปของสารกระตุ้นและใช้เป็นยา เอกสารทางการแพทย์ของอินเดียเช่น Susrutha Samhita กล่าวว่าการใช้ bhang ซึ่งเป็นใบแห้งและดอกของ shoots ซึ่งใช้ในการรักษาโรคหวัดและเสมหะ การแพทย์แผนโบราณกล่าวว่า bhang มีฤทธิ์ในการลดไข้และรักษาอาการติดเชื้อในลำไส้
ชาวอินเดียได้เรียก hemp ว่า bhang (หรือ bhanga) ถึงแม้จะเกิดคำถามมากมายว่า bhang ที่ถูกระบุไว้ในบันทึกภาษาสันสกฤตโบราณนั้นหมายถึง hemp จริงหรือไม่ก็ตาม ในอีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า hemp ไม่มีการแพร่กระจายสู่อินเดียจนกระทั่งชาวมุสลิมได้อพยพเข้ามาในช่วงปี ค.ศ. 1100 bhang มีบทบาทสำคัญในศาสนาอินเดียในสมัยโบราณ มันถูกใช้เป็นเครื่องสักการะพระศิวะ ด้วยฤทธิ์ในการกระตุ้นความอยากและมีผลต่อระบบกระบวนการคิด bhang จะถูกดื่มโดยผู้บูชาพระศิวะในการสักการะและในพิธีบูชายัญ ส่วนยอดที่เป็นดอกแห้งของต้นเพศเมียที่เรียกว่า ganji จะถูกผู้บูชาสูบ โดยเชื่อว่าจะทำให้เข้าถึงความเชื่ออีกด้วย
Hemp ถูกใช้เป็นเครื่องกำยานในอินเดียและส่วนอื่นๆ ของเอเซีย ในตำนานของฮินดูคำว่า Siddhu ที่หมายถึง “สมบูรณ์แบบ” จะถูกใช้เรียกพระที่ใช้ bhang ในการนั่งสมาธิเพื่อค้นหาหนทางสู่พระเจ้าที่แท้จริงได้
ในอินเดียชาวอารยันได้ใช้กัญชงเป็นส่วนหนึ่งของการบูชายันทางศาสนาของพวก เขาและมีการเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดระหว่างการใช้งานและคุณสมบัติทางการแพทย์  ตาม Vedas ที่เขียนขึ้นในประมาณ 1100 ก่อนคริสตศักราชเทพเจ้าศิวะได้นำกัญชงจากภูเขาหิมาลัยเพื่อสร้างความสุขให้ กับมนุษย์ พระเจ้าได้กวนสมุทรจากภูเขา Mandara (คิดว่าเป็นยอดเขา Everest) และหยด celestial nectar สู่โลกสิ่งนี้ได้สร้างต้นกัญชงต้นแรกและถูกตั้งชื่อว่า “หญ้าศักดิ์สิทธิ์” หรือ “อาหารของพระเจ้า”
เป็นธรรมเนียมปฎิบัติในอินเดียที่เรซินจากกัญชาจะถูกใช้โดยพระBrahminและ บุคคลศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น มีเรื่องในหนังสือว่าบุคคลศักดิ์สิทธิ์ผู้ซึ่งได้เดินบนแผ่นโลหะที่ร้อนหรือ เตียงที่มีตะปูได้นำกัญชงไปเพื่อลดความเจ็บปวด
กัญชงยังรู้จักกันว่าเป็น evil spirits อีกด้วย  มันเป็นพืชที่มหัศจรรย์  คุณสมบัติที่มหัศจรรย์เหล่านี้ได้สร้างพื้นฐานเรื่องเล่ามากมายของนิยาย อาหรับราตรี และเชื่อกันว่านิยายดังกล่าวนี้อาจนำไปสู่การใช้กัญชงเป็นยาเสพติดในประเทศ ยุโรป
การผลิตและค้าขายกัญชง
มี Cannabis sativa ที่เป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกันมากมายโดยแต่ละตัวจะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นกับว่าพวกมันได้ถูกพัฒนาคุณสมบัติของเส้นใย  น้ำมัน หรือยาเสพติด   แม้ว่าสายพันธุ์ทั้งหมดที่ปลูกในอินเดียจะใช้งานแบบยาเสพติดแต่อินเดียก็ เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกหลักน้ำมันจากเมล็ดของกัญชง  อินเดีย ปากีสถานและบังกลาเทศยังปลูกกัญชาในรูปของเส้นใยแบบหนึ่งด้วยแต่สิ่งนี้ จำนวนมากจะมาจากพืชเส้นใยอื่นที่ยังรู้จักในรูปของกัญชงอีกด้วย เช่น sunn hemp จาก Crotalaria juncea.
การเพาะปลูก
สำหรับเส้นใยและน้ำมันกัญชงจะถูกเพาะเลี้ยงจากเมล็ดใน dense rows ในขณะที่การปลูกฝ้ายจะต้องใช้ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชจำนวนมากแต่กัญชง ไม่จำเป็น  ดังนั้นมันจึงเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  กัญชงยังถูกปลูกแบบเกษตรอินทรีย์อีกด้วย
ต้นเพศผู้มักถูกใช้เพื่อผลิตเส้นใยในขณะที่จะใช้เพศเมียในการผลิตเมล็ด และน้ำมัน  สำหรับเส้นใย  ก้านจากสายพันธุ์ที่มีความหลากหลายของ THC ต่ำมักจะถูกเก็บเกี่ยวประมาณ 5 เดือนหลังการหว่านด้วยมือ หรือเครื่องมือที่ออกแบบเป็นพิเศษ  ต้นเพศเมียจะถูกปล่อยไว้นานขึ้นเพื่อให้ได้เมล็ดสำหรับผลิตน้ำมัน เมื่อต้นสุกจะถูกตัดโดยเครื่องจักรที่สูงกว่าพื้นดิน 2-3 ซม.
การแยกเส้นใย
เส้นใยจะถูกแยกออกจากลำต้นครั้งแรกโดยการอบแห้งและต่อมาโดยการ retting สิ่งนี้หมายความว่าลำต้นมักจะถูกปล่อยให้สลายตัวเพื่อให้เส้นใยที่เป็นแค่ ส่วนของลำต้นเหลืออยู่เท่านั้น ต่อมาลำต้นจะถูกตัดและถูกทำเป็นกลุ่มเล็กๆ ต่อมาเส้นใยจะถูกแยกจากลำต้นและถูกนำไปผ่านเครื่องโม่เพื่อกำจัดชิ้นไม้และ ลำต้นออกไป
ผลิตพันธุ์ที่ทำจากเส้นใย, น้ำมัน, เมล็ดและลำต้นจะประกอบด้วยเส้นใย, สิ่งทอ, กระดาษ, พลาสติก, ช่องที่ใช้ทำแม่พิมพ์เครื่องพิมพ์, chip board, เชื้อเพลิง, น้ำยาทำความสะอาด, เครื่องสำอางและอาหาร
กัญชง-ธัญพืชตัวใหม่
กัญชงเป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดในราชอาณาจักรและครั้งหนึ่งเคยถูกปลูก อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นเส้นใยและอาหาร  การเพาะปลูกได้ถูกห้ามต่อมาเนื่องจากการใช้เป็นยาเสพติด  คุณค่าของมันในรูปเส้นใยและพืชน้ำมันยังไม่ถูกลืมและตลอดหลายปีได้มีการ พัฒนาสายพันธุ์ของกัญชงที่มีเส้นใยมากและมี tetrahydrocannabinol หรือที่รู้จักกันว่า THC ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ในระดับที่ต่ำมาก ในคำว่ากัญชงในอุตสาหกรรมนั้นในปัจจุบันสายพันธุ์เหล่านี้จะถูกปลูกภายใต้ การควบคุมที่เข้มงวดในจีน, โรมาเนีย, สเปน, ชิลี, ยูเครน, ฮังการี, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร อนาคตที่น่าตื่นเต้นกำลังจะเกิดขึ้นกับกัญชง หลังจากหลายทศวรรษที่มันหายไปจากชนบทกัญชงก็อาจเริ่มที่จะทอมันกลับไปเป็น เส้นใยของชีวิตในชนบทและในทางเศรษฐกิจอีกในไม่ช้า
การฟื้นตัวอีกครั้งของกัญชง
มีการฟื้นตัวในความสนใจกัญชงอีกครั้งเมื่อเร็วๆ นี้ในรูปของอาหารเพื่อสุขภาพ, เส้นใยและเป็นไปได้ในทางอุตสาหกรรมของกัญชง  มันเข้าสู่ตลาดในรูปของเส้นใยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อมันเติบโตภาย ใต้สภาวะทางเกษตรอินทรีย์  เส้นใยจะเป็นที่นิยมสำหรับเสื้อผ้าและแม้แต่รองเท้า  ในปัจจุบันอาดิดาสได้มีผู้ฝึกการใช้เส้นใยของกัญชาและนักออกแบบแฟชั่นชั้นนำ ยังได้สร้างรูปแบบของกัญชงขึ้นมาอีกด้วย:Ralph Lauren and Calvin Klein เป็นสองผู้ออกแบบผู้รวมเส้นใยกัญชงเข้าในงานของพวกเขาอีกด้วย
การใช้เส้นใย
เช่นเดียวกันกับเครื่องนุ่งห่มเส้นใยของกัญชงได้ทำการทดสอบสำหรับการเป็น ฉนวนกันความร้อน, เยื่อกระดาษ, กระดาษ และอุตสาหกรรมรถยนต์  บริษัทที่ประกอบด้วย BMW, Ford, Nissan กำลังใช้ประโยชน์จากน้ำหนักที่เบาและแข็งแรงสูงของเส้นใยกัญชงเพื่อทำ door inserts, แผงหน้าปัดภายในและที่นั่ง  ในปี 2000 ได้มีการใช้บางส่วนของกัญชง 3500 ต้น สำหรับการผลิตรถยนต์ในสหภาพยุโรป
เส้นใยจากลำต้นของกัญชงสามารถถูกผสมกับเรซินของกัญชงเพื่อทำวัสดุก่อ สร้างที่แข็งแรง ในการทดลองได้มีการสร้างบ้านทำจากกัญชงที่ Haverhill ในสหราชอาณาจักร  เส้นใยที่ไม่เป็นสัดส่วนของลำต้นกัญชงที่เรียกว่า Hurds สามารถถูกใช้ทำเป็นที่นอนของสัตว์และทำส่วนประกอบในบรรจุภัณฑ์ของ cellophane ยังมีตลาดสำหรับเมล็ดและน้ำมันของกัญชงด้วยโดยใช้ในอาหารและเพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เช่น สบู่, น้ำยาทำความสะอาด,น้ำมัน, สีย้อมและแหล่งของกรด gamma-linolenic ที่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
การควบคุมการเพาะปลูก
การควบคุมการเพาะปลูกและการผลิตกัญชงในสหภาพยุโรปได้คลี่คลายลงในปี 1993 แม้ว่าจะมีการอนุญาตอย่างรอบคอบมันก็ได้มีการปลูกเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน กัญชงที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ได้ถูกปลูกบนพื้นที่ประมาณ 2000 เฮกเตอร์ในสหราชอาณาจักร  แม้แต่ในปัจจุบันก็สามารถโครงสร้างทางการเงินจากรัฐบาลเพื่อช่วยเกษตรกรใน การเพาะปลูกและแปรรูปพวกมันได้
ความต้องการกัญชงที่เพิ่มขึ้นในสหราชอาณาจักรยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจใน ปริมาณและคุณภาพจากการผลิตภายในประเทศ  และต้องการ subsidies เพื่อทำให้มันสร้างผลกำไรภายใต้สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน  แต่ผลผลิตธัญพืชที่สูงขึ้นจากสายพันธุ์ใหม่และค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวที่ ต่ำลงเนื่องจากเครื่องกลแบบใหม่ๆ หมายความว่ากัญชงสามารถให้ผลกำไรที่มากขึ้นได้  บางทีในไม่ช้าพื้นที่ปลูกกัญชงจะเป็นเรื่องปกติในชนบทของชาวอังกฤษ
กัญชง-การแพทย์ในโลกตะวันตก
กลุ่มผู้วิจัยมากมายกำลังศึกษาการใช้กัญชงในทางการแพทย์เพื่อดูว่ามัน สามารถใช้ในการรักษาโรคโดยไม่มีผลกระทบข้างเคียงได้หรือไม่  อย่างไรก็ตามจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายในอังกฤษ ดังนั้นการใช้ cannabis ในทางการแพทย์ได้ถูกห้ามและไม่ควรถูกใช้ในการรักษาในทางการแพทย์ใดๆ
ศักยภาพ
มีความน่าสนใจมากในการใช้ cannabis สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งผ่านการรักษาแบบ chemotherapy มันถูกรายงานว่าได้ลดการรู้สึกอาเจียน, ลดความเจ็บปวดและกระตุ้นการอยากอาหาร  นักวิทยาศาสตร์กำลังพิจารณาว่ามันสามารถถูกใช้ในการศึกษาแบบลดความรุนแรงของ ผู้ป่วยที่ป่วยระยะสุดท้ายได้หรือไม่  กัญชงยังได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการลด spasms ของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากกล้ามเนื้อ dystrophy  และ กล้ามเนื้อ sclerosis
ความปลอดภัย
ได้มีรายงานถึงผลกระทบข้างเคียงที่รุนแรงที่เกิดร่วมกับการใช้ cannabis สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่รุนแรงในการใช้ cannabis เป็นยาตามใบสั่งแพทย์
ในบางส่วนของโลก cannabis สามารถใช้สูบหรือใช้เป็นสมุนไพรทางการแพทย์ได้แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นใน อังกฤษนอกจากจะมีใบอนุญาตจากรัฐบาลและในปัจจุบันจะสามารถปลูกกัญชงที่มี tetrahydrocannabinol (THC) แค่ 0.3% เท่านั้นในการใช้เพื่อเป็นเส้นใยกัญชงในรูปของยา
ล่วงจนปลายศตวรรษที่ 19 กัญชงซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า hashish ได้ถูกใช้งานแค่ทางการแพทย์เท่านั้นในยุโรปและอเมริกาเหนือ  ประวัติของมันในรูปของยาที่ช่วยผ่อนคลายส่วนหนึ่งแทนที่ฝิ่นและมีความซับ ซ้อน  มันได้รับการสนับสนุนจากนายแพทย์บางคนและมีอิทธิพลจากแอฟริกาเหนือ (ในยุโรป) , เม็กซิโก และอเมริกาใต้ (ในอเมริกาเหนือ) ในทศวรรษที่ 1930s การบริโภค hashish ได้ถูกห้ามในหลายประเทศมากมายในรูปที่เป็นส่วนหนึ่งของยาเสพติด
ยาแบบ controversial
ตั้งแต่มีการเริ่มใช้  hashish ในโลกตะวันตกก็ได้มีข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้ hashish โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับการใช้สารที่มาจากฝิ่น เช่น มอร์ฟีน หรือโคเคน ข้อขัดแย้งเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมอย่างรวดเร็วตั้งแต่ การใช้ hashish ได้ขยายไปในทศวรรษที่ 1960s เมื่อคำเช่นว่า marijuana, weed และ grass ได้เป็นที่นิยมกัน ในปี 2004 รัฐบาลอังกฤษได้แบ่งประเภทของ marijuana อีกครั้งเป็นยาเสพติดระดับ C โดยที่ผลกระทบของมันจะมีอันตรายน้อยกว่า ผลระทบของยาเสพติดระดับ B เช่น amphetamines มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าการใช้ marijuana อย่างหนักหรือในระยะเวลานานสามารถนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตและกายภาพได้  การรณรงค์ในการทำให้เป็นสิ่งถูกกฎหมายของ marijuana ก็เป็นไปไม่ได้ว่าจะประสบผลสำเร็จ<
สารประกอบที่ว่องไว
ส่วนผสมแบบไวต่อจิตใจตัวหลักในกัญชงคือสารประกอบ cannabinol ที่มีชื่อว่า del-9- tetrahydrocannabinol (THC) รูปแบบของกัญชงในท้องจะเปลี่ยนไปอย่างมากตามปริมาณ THC ของพวกมันและรูปแบบที่ไม่มี THC ได้ถูกปลูกเพื่อผลิตเส้นใย ควันของกัญชงจะมีสารประกอบอื่นๆมากกว่า 150  แบบซึ่งพวกมันมากมายจะมีบทบาทในคุณสมบัติที่ว่องไวต่อจิตใจและในทางการแพทย์ ของมันและบางตัวก็มีผลต่อคุณสมบัติในการทำลาย THC จะทำสำเนาการกระทำของ receptors ในสมองที่เรียกว่า“neurotransmitters ” และรบกวนบทบาทปกติ สมองจะประกอบด้วยสารประกอบที่รู้จักกันในชื่อ anandamide ซึ่งมีผลกระทบที่เหมือนกันต่อร่างกายในรูป THC THCจะเลียนแบบ anandamide และมีพันธะกับ receptors ตัวเดียวกัน
กัญชง-อาหาร
แม้ว่ากัญชงจะไม่เคยเป็นธัญพืชอาหารที่สำคัญในเอเชียใต้แต่ในยุโรปกลาง มันมีประวัติที่ยาวนานในการเพาะปลูกเพื่อใช้เมล็ดที่อุดมไปด้วยน้ำมันของมัน สิ่งเหล่านี้สามารถกินได้ทั้งหมดซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งในอาหารหรือถูกอัด เพื่อได้น้ำมันของพวกมัน เมล็ดกัญชงที่สะอาดจะไม่มีสารเคมีที่มีคุณสมบัติแบบว่องไวต่อจิตใจของกัญชง
น้ำมันจากเมล็ดกัญชง
กัญชงเป็นที่นิยมขึ้นมาใหม่ในยุโรปเหนือและอเมริกาเหนือในรูปของธัญพืช ที่ใช้เป็นอาหาร ในส่วนหนึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเกษตรกรได้มุ่งไปสู่ธัญพืชใหม่ๆในโลก ของการสำรองในทางเกษตรกรรม
แม้ว่ายุโรปจะไม่ขาดแคลนน้ำมันจากพืชแต่น้ำมันจากเมล็ดกัญชงก็จะมี คุณสมบัติพิเศษบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันอุดมไปด้วยไขมัน omega 3 ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจ
อนาคตของอาหารจากกัญชงอื่นๆบางอย่าง เช่น ไอศกรีมจากกัญชง (ทำจากน้ำมันกัญชง) บางทีก็มีความไม่แน่นอนมาก แต่น้ำมันจากกัญชงโดยตัวมันเองแล้วจะเป็นตัวเพิ่มทางเลือกของน้ำมันที่หาได้ ในท้องตลาดของอังกฤษในปัจจุบัน
กัญชง-การค้าขาย
คำว่า “canvas” จะได้มาจากคำว่า “cannabis” ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการใช้กัญชงตลอดช่วงประวัติศาสตร์ในฐานะของธัญพืชเส้น ใยสำหรับสิ่งทอ , เชือก และกระดาษ ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่หลากหลายทั่วโลกเพื่อเส้นใยที่ทนทานของพวกมันซึ่ง โดยทั่วไปจะมองดูคล้ายลินินเมื่อถูกแปรรูปไปเป็นเส้นใย เชือกที่ใช้กับเรือ , กระสอบ และเชือกเป็นผลิตภัณฑ์ของกัญชงที่สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปช่วง ศตวรรษที่ 1500s และ 1600s
เส้นใย
โดยไม่ใส่ใจในความสำคัญของมันในยุโรปแล้ว กัญชงจะไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในรูปของเส้นใยในเอเชียใต้ที่ซึ่งมันถูก เพาะปลูกเพื่อคุณสมบัติแบบเป็นยาเสพติดของมัน ในปี 1841 William Robinson ได้มีการบันทึกว่า Cannabis Sativa ได้ถูกนำไปใช้งานในรูปของยาเสพติดเท่านั้นโดยชนเผ่าบนเนินเขาของรัฐอัสสัม และการใช้มันในรูปของเส้นใยยังไม่เป็นที่ทราบกัน แต่ก็มีอยู่ 2-3 กรณีที่มีการใช้เส้นใยกัญชงในที่อื่นๆของเอเชียใต้
เรื่องราวของผลิตภัณฑ์กัญชงในเอเชียใต้จะเป็นที่สับสนเนื่องจากคำว่า “hemp” ได้ถูกใช้สำหรับพืชที่มีเส้นใยมากมาย “Indian hemp” มาจากพันธุ์ที่เรียกว่า Hibiscus cannabinus ,“ramie” หรือ “rhea” จะมาจากต้น Boehmeria nivea และ “sunn hemp” จะมาจาก “Crotalaria juncea” เส้นใยจากกัญชงเหล่านี้ได้ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์กลุ่มหนึ่งตั้งแต่ตาข่ายจับปลา จนถึงกระดาษ , เส้นใยและเชือก
กัญชงที่แท้จริงจริงๆแล้วจะไม่ถูกใช้ในรูปของเส้นใยในเอเชียใต้ยกเว้นไม่ กี่กรณีเท่านั้นเชือกได้ถูกผลิตใน Kashmir โดยการใช้กัญชงและแผ่นเล็กๆของเส้นใยกัญชงได้ถูกผลิตขึ้นในอินเดียเพื่อการ ทำกระดาษ กระดาษในโลกทุกวันนี้ได้ถูกผลิตจากเยื่อไม้แต่ในอดีตที่ผ่านมาภูมิภาคที่แตก ต่างกันได้ใช้ประโยชน์จากเส้นใยพืชที่แตกต่างกันเพื่อการทำกระดาย
ชาวจีนได้พัฒนาสายพันธุ์กัญชงขึ้นครั้งแรกเพื่อทำกระดาษและในทุกวันนี้ มันก็ยังคงเป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับเอกสารทางราชการจีนเนื่องจากมันทนน้ำ และเหนียว ในทางตอนเหนือของอินเดียผู้ผลิตกระดาษชาวมุสลิมที่รู้จักกันในชื่อ Khazgi จะใช้วัสดุที่หลากหลายในการทำกระดาษรวมถึง sunn hemp ด้วย
ในปัจจุบันเส้นใยกัญชงที่แท้จริงได้ถูกใช้ในส่วนที่หลากหลายของโลกเพื่อ ทำกระดาษในทางศิลปะ , กระดาษกรอง , เงินและถุงน้ำชา น้ำมันจากเมล็ดได้ถูกใช้ในหลอดไฟและทำสี , วานิช และสบู่ ทั้งเมล็ดและลำต้นสามารถถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ กัญชงได้ถูกพิจารณาว่ามีศักยาภาพมากมายในรูปของธัญพืชในทางอุตสาหกรรมสำหรับ การใช้งานในขอบข่ายที่กว้าง การใช้งานที่น่าประหลาดใจแบบหนึ่งสำหรับกัญชงจะเกิดขึ้นในสหรัฐฯเมื่อปี 1941 Henry Ford ได้ทำตัวถังรถยนต์ทดสอบโดยใช้กัญชงกว่า 70 % , ฟางข้าวและ sisal และใช้ตัวเชื่อมที่เป็นเรซินของ 30 % hemp ต่อเข้ากับโครงสร้างที่เป็นเหล็กกล้า น้ำหนักรถจะเป็น 1 ใน 3 ของรถยนต์ทั่วไปที่ใช้กันในช่วงเวลานั้นและแข็งแรงกว่า 10 เท่า
HEMP
Hemp เป็นชื่อทั่วไปของ Cannabis sativa และเป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกมากที่สุดเมือพืชที่เติบโตปีละครั้งนี้ถูกปลูก เพื่อเป้าหมายที่ไม่เกี่ยวกับยาเสพติด  นั่นคือเพื่อเป้าหมายทางอุตสาหกรรมซึ่งใบอนุญาตเพื่อการปลูกจะได้รับการ รับรองจากสหภาพยุโรปและแคนาดา ในสหราชอาณาจักรนั้นใบอนุญาตจะออกโดย Home office ภายใต้ Misuse of Drugs Act 1971
เมื่อถูกปลูกเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม hemp มักจะถูกเรียกว่า industrial hemp หรือ industrial cannabis และผลิตภัณฑ์ทั่วไปก็คือ เส้นใย เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย Feral hemp หรือ ditchweed เป็นเส้นใยที่โตในป่าหรือสายพันธุ์เมล็ดน้ำมันของ Cannabis ที่อยู่นอกเขตเพาะปลูก เติบโตในธรรมชาติและผลิตเมล็ดได้เองทุกปีในปัจจุบัน
Cannabis sativa
 สายพันธุ์ส่วนใหญ่ของ hemp คือ Sativa ถึงแม้ว่าสายพันธุ์นี้จะมีคุณภาพของเส้นใยต่ำ และถูกใช้มากในการผลิตยาระงับประสาทและยาที่ใช้ทางการแพทย์ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือปริมาณของ delta-9 tetrahydrocannabinol หรือ THC ซึ่งถูกขับออกมาในเรซิ่นจากต่อม epidermal (สายพันธุ์ของ Cannabis sativa ที่ถูกใช้เพื่อผลิต industrial hemp นั้นเกือบจะไม่มีเรซิ่นนี้ในขณะที่สายพันธุ์อื่นจะขับออกมาในปริมาณมาก นักพฤกษศาสตร์บางคนได้โต้แย้งเรื่องดังกล่าวและจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ทาง พันธุกรรมเพื่อความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น)
การใช้งาน
Hemp ถูกใช้เพื่อทำเชือก เสื้อผ้า อาหาร และน้ำมันจากเมล็ดสามารถใช้ทำสีหรือใช้ประกอบอาหารได้ ในยุโรปและจีน เส้นใยจาก hemp ถูกใช้เป็นส่วนผสมในพลาสติกและใช้เป็นสารผสมในงานก่อสร้างและโรงงาน Mercedes-Benz ใช้สารผสมทางชีวภาพที่มี hemp เป็นส่วนประกอบ ในการผลิตแผงหน้าปัดรถ
ในสหรัฐ การใช้ hemp ลดลงอย่างมากเนื่องจากการออกกฎหมายเพื่อควบคุมยาเสพติดของรัฐบาล ซึ่งกล่าวว่าพืชที่มี THC สูงต้องปลูกรวมกับพืชที่มี THC ต่ำ ได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้ เพื่อช่วยให้เกษตรชาวอเมริกาสามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ ดังในปี 2006 จีนมีส่วนแบ่งเส้นใย hemp ในตลาดโลกสูงถึง 40%
Housing
70 % ของน้ำหนักรวมของต้น Cannabis มาจาก hurd หรือแกนในที่เป็นเนื้อไม้ ส่วนนี้ของต้นจะไม่มี THC และสามารถใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ (ซิลิกาที่ถูกชะล้างจากดินโดยพืชชนิดนี้จะรวมกับ unslaked lime (calcium oxide) สร้างพันธะเคมีที่คล้ายกับซีเมนต์ซึ่งทนไฟและกันน้ำได้
อาหาร
Hemp อาจถูกปลูกเพื่อเป็นอาหารได้อีกด้วย (เมล็ด) แต่ในสหราชอาณาจักรไม่มีการอนุญาตให้ปลูกพืชชนิดนี้เพื่อเป็นอาหาร ภายใน Department for Environment, Food and Rual Affairs (Defra) hemp ถูกแปรรูปเป็นธัญพืชในรูปแบบที่ไม่ใช่อาหาร โดยไม่สนใจความจริงที่ว่าเมล็ดพืชเหล่านี้สามารถปรากฏอยู่ในตลาดของสหราช อาณาจักรได้ในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกกฎหมาย
ในอเมริกาเหนือ ผลิตภัณฑ์อาหารจากเมล็ด hemp ถูกขายในจำนวนที่น้อยมาก โดยทั่วไปจะจำหน่ายในร้านอาหารเพื่อสุขภาพหรือโดยการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ เมล็ด hemp มีขนาดใกล้เคียงกับเมล็ดดอกทานตะวันและสามารถใช้ในการอบขนมปังได้เช่นเดียว กับเมล็ดงา ผลิตภัณฑ์อาหารจะมีตั้งแต่ ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าจนถึงวาฟเฟิล   แช่แข็ง บริษัท 2 ถึง 3 รายได้ผลิตเมล็ด hemp ที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากขึ้น เช่น เมล็ดที่มีน้ำมันอยู่มาก เมล็ดที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ เมล็ดที่ปอกเปลือกหุ้มออกเหลือไว้เพียงชั้นที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร แป้งที่ผลิตจาก hemp ขนมเค้กซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการบดเมล็ดเพื่อเอาน้ำมัน โปรตีนผง และ hemp ยังถูกนำไปใช้ในการเกษตรอินทรีย์ด้วย
สารอาหาร
30-35% ของน้ำหนักเมล็ด hemp คือน้ำมันซึ่งประกอบด้วย กรดไขมันหอมระเหยไม่อิ่มตัว (EFAs) 80%, กรด linoleic (LA) 55% และกรด linolenic (ALA) 21-25% ซึ่งกรดเหล่านี้ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เองต้องได้รับจากการทานอาหารเสริม เท่านั้น สัดส่วนของกรดทั้งหมดในเมล็ดจึงจะสมดุลกันอย่างสมบูรณ์ตามที่ EFAs ต้องการ จะไม่เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากป่านและน้ำมันอื่นๆ โดยน้ำมันที่ได้จาก hemp สามารถนำมาใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลนหรือขาดความสมดุล
Hemp ยังประกอบไปด้วยโปรตีนย่อยได้สมบูรณ์ 31% โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในรูปของโปรตีน edestin และ 2 ใน 3 จะอยู่ในรูปของโปรตีน albumin ส่วนประกอบที่เป็นกรด amino คุณภาพสูงเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับ เนื้อ นม และไข่ มากกว่าเมล็ดน้ำมันชนิดอื่นยกเว้นถั่วเหลือง
พืชที่มี ALA เป็นส่วนประกอบในน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดจะมีปริมาณเพียงพอสำหรับเป็นสารอาหาร ให้ร่างกายได้ เนื่องจากร่างกายสามารถเปลี่ยนรูปสารอาหารเหล่านี้ให้เป็นกรดไขมันอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตามกระบวนการเปลี่ยนรูปนี้จะไม่มีผลในทันทีเมื่อเทียบกับกรดไขมัน omega-3 ที่ได้จากน้ำมันตับปลาซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าและนำไปใช้ได้ใน ทันที
เส้นใย
การใช้ hemp เพื่อผลิตเส้นใยมีจำนวนลดลงอย่างมากในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในช่วงก่อนเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม เส้นใยจาก hemp ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากมีความแข็งแรงและเจริญเติบโตได้เร็ว มันถูก

 

ความแตกต่างระหว่างกัญชงกับกัญชา

กัญชงและกัญชาพบว่าแหล่งกำเนิดอยู่ค่อนไปทางเหนือของทวีปเอเชียได้แก่ ทางตอนเหนือของประเทศจีน ไซบีเรีย มองโกเลีย แล้วค่อยกระจายไปทางเหนือคือทวีปยุโรป ยุโรปนำไปปลูกแล้วทำการพัฒนาพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย ส่วนที่กระจายมาทางไต้ คือ ประเทศอินเดีย จีน ไทย ใช้ในการสูบจึงพัฒนาโดยการคัดเลือกให้มีปริมาณสารมากและเข้มข้นขึ้น เนื่องจากกัญชงเป็นพืชที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับกัญชาจึงถูกรวมอยู่ใน กลุ่มพืชเสพติด แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สามารถแยกพืช 2 ชนิดนี้ ออกจากกันได้ในระดับ subspecies โดยกัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa Subspecies. Indica (Lam.) ส่วนกัญชงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa Subspecies. sativa. เมื่อศึกษาโดยละเอียดแล้วจะมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านกายภาพ ในระดับดีเอ็นเอ และปริมาณของสารสังเคราะห์ที่พืชสร้างขึ้น ดังต่อไปนี้
1. การเปรียบเทียบลักษณะกายภาพของกัญชงกับกัญชา



 1.1. ลำต้น
- กัญชง ลำต้น สูงเรียวมากกว่า 2 เมตร หรืออาจสูงถึง 4 เมตร บริเวณโคนต้นสูงจากดินประมาณ 30 เซนติเมตร จะมีลักษณะกลม แล้วถัดขึ้นมาลำต้นจะเป็นหยักนูน - กัญชา ลำต้น มักสูงน้อยกว่ากัญชง บางชนิดออกพุ่มเตี้ย ทรงพุ่มฐานกว้าง แล้วเรียว เหลม ขึ้นไปปลายยอดคล้ายเจดีย์
1.2. การแตกกิ่ง - กัญชง แตกกิ่งน้อย และการแตกกิ่งจะไปในทิศทางเดียวกัน กิ่งที่แตกออกมาจะมี

ลักษณะเป็นหยักนูน - กัญชา แตกกิ่งมาก การแตกกิ่งจะเป็นแบบสลับ กิ่งที่แตกออกมามีลักษณะกลม
1.3. การเรียงตัวของใบ - กัญชง ใบใหญ่ การเรียงตัวของใบบนลำต้นและกิ่งก้าน จะค่อนข้างห่างทำให้ ทรงพุ่มมีความโปร่งแสง - กัญชา ใบเล็กแคบเรียวยาว การเรียงตัวของใบจะชิดกัน ลักษณะทรงพุ่มแน่นทึบไม่โปร่งแสง
1.4. ลักษณะข้อ - กัญชง ข้อของลำต้นห่างกว่ากัญชา กิ่งและใบบนต้นห่างทำให้ทรงต้นโปร่ง - กัญชา ข้อของลำต้นสั้น กิ่งและใบชิดกันทำให้ทรงต้นทึบ
1.5. ลักษณะใบ - กัญชง ใบมีสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยแต่ละแฉกโค้งแผ่กว้าง - กัญชา ใบมีสีเขียว ถึงเขียวจัด ขอบใบย่อยแต่ละแฉกเรียวยาว
1.6. ช่อดอก - กัญชง เมื่อออกดอกช่อดอกห่างมียางที่ช่อดอกไม่มาก เมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อยและทำให้ผู้เสพปวดหัว - กัญชา เมื่อออกดอกช่อดอกชิดติดกันมียางที่ช่อดอกมากเมื่อนำมาจุดไฟ จะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีฤทธิ์หลอนประสาท
1.7. เมล็ด - กัญชง เมล็ดมีขนาดใหญ่มีเมล็ดลายบ้าง - กัญชา เมล็ดมีขนาดเล็ก
1.8. ขนาดท่อลำเลียงน้ำ - กัญชง ท่อลำเลียงน้ำ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่า - กัญชา ท่อลำเลียงน้ำเล็กกว่า และมีเยื่อบางสีขาว
1.9. เปลือก - กัญชง เปลือกกับลำต้นแยกชั้นกันเหนียวหนาลอกง่าย เส้นใยยาว คุณภาพสูง - กัญชา เปลือกยึดกับลำต้นบางลอกยากขาดง่าย ได้เส้นใยสั้น คุณภาพต่ำ
1.10. ปริมาณสารเสพติด (THC) - กัญชง มีสาร Tetra Hydro Cannabinol หรือTHC ร้อยละ 0.3 - 7 - กัญชา มีสาร THC ร้อยละ 1 - 10
สรุป
1. กัญชงลำต้นสูงเรียวเป็นเหลี่ยมจะกลมเฉพาะบริเวณโคนต้นเหนือจากดินประมาณ 30 เซนติเมตร และมีความสูงมากกว่า 2 เมตร ท่อส่งน้ำมีขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางใหญ่ลำต้นหักง่าย ส่วนกัญชาลำต้นมักสูงน้อยกว่ากัญชงและมีลำต้นกลม บางชนิดออกพุ่มเตี้ย ท่อส่งน้ำเล็กกว่า และมีเยื่อบางสีขาวลำต้นหักยาก
2. กัญชงแตกกิ่งก้านน้อยและส่วนกิ่งก้านทำมุมกับลำต้นมากกว่าประมาณ 65 องศา ส่วน กัญชาแตกกิ่งก้านมากและก้านทำมุมกับลำต้นน้อยกว่าประมาณ 45 องศา
3. กัญชงใบใหญ่ขอบด้านข้างของแฉกใบย่อยโค้งกว้าง การเรียงตัวของใบค่อนข้าง ห่าง ใบสีเขียวอมเหลือง ส่วนกัญชาใบเล็กขอบด้านข้างของแฉกใบย่อยแคบเรียวยาว การเรียงตัวของใบจะชิดกัน ใบมีสีเขียว ถึงเขียวจัด
4. กัญชงปล้องหรือข้อยาวระยะห่างของใบบนลำต้นกว้างทำให้ทรงพุ่มโปร่ง กัญชา ปล้องหรือข้อสั้นระยะห่างของใบบนลำต้นแคบทรงพุ่มทึบ
5. กัญชงเปลือกเส้นใยละเอียดเหนียวหนาลอกง่ายให้เส้นใยยาว คุณภาพสูง กัญชาเปลือกเส้นใยหยาบบางลอกยาก ให้เส้นใยสั้น คุณภาพต่ำ
6. กัญชงเมื่อออกดอกมียางที่ช่อดอกไม่มากมีสาร Tetra Hydro Cannabinol หรือTHC ร้อยละ 0.3 - 7 ใบและกะหลี่นำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อยและทำให้ผู้เสพปวดหัว ส่วนกัญชาเมื่อออกดอกมียางที่ช่อดอกมากมีสาร THC ร้อยละ 1 – 10 ใบและกะหลี่เมื่อนำมาจุดไฟจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีฤทธิ์หลอนประสาท
7. กัญชงเมล็ดมีขนาดใหญ่ มีเมล็ดลายบ้างผิวเมล็ดหยาบด้าน ส่วนกัญชาเมล็ดมีขนาดเล็กผิวเมล็ดมันวาว
2. การเปรียบเทียบ DNA ระหว่างกัญชงกับกัญชา ( เพิ่มศักดิ์ และคณะ, 2544)
รูปภาพแสดงลายพิมพ์ ดีเอ็นเอที่ปรากฏจากภาพถ่าย โดยใช้วิธี DNA fingerpint โดย แถบที่ 1 คือ กัญชงเพศเมีย , แถบที่ 2 คือกัญชงเพศผู้ , แถบที่ 3 คือกัญชงชนิดรวมเพศ ส่วนแถบที่ 4 คือกัญชา พบแถบดีเอ็นเอที่แยกมีความแตกต่างของแถบดีเอ็นเออย่างชัดเจนถึง 2 ตำแหน่งตามภาพ โดยแถบที่ 1 – 4 ตำแหน่งยีนลำดับที่ (a, e) จะมีเฉพาะในพืชกัญชง (แถบที่ 1 - 3) แต่กัญชาจะไม่มียีน 2 ตำแหน่งนี้ กัญชาและกัญชงเพศเมียจะไม่มีตำแหน่งยีนลำดับที่ f ส่วนกัญชงเพศผู้และรวมทั้งสองเพศมีตำแหน่งยีนลำดับที่ f
สรุป จากการศึกษาเปรียบเทียบลายพิมพ์ดีเอ็นเอของกัญชงกับกัญชา จะสามารถเห็นได้ว่ากัญชงมีตำแหน่งยีนที่ต่างกับกัญชา 2 ลำดับคือลำดับที่ a กับ e จะมีแต่ในกัญชง และในกัญชงเพศผู้กับแบบรวมเพศจะมีตำแหน่งยีนที่แตกต่างจากกัญชาเพิ่มอีก 1 ลำดับได้แก่ลำดับที่ fดังนั้นจึงเป็นข้อเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจนในระดับยีนว่ากัญชงเป็นพืชต่าง ชนิดกันกับกัญชา
3. การเปรียบเทียบทางเคมีระหว่างกัญชงกับกัญชา ปฏิกิริยาการเกิดสี (Color Test)
การทดสอบปฏิกิริยาการเกิดสีกับ Fast Blue B Salt พบว่ากัญชา และกัญชงจะให้ผลเป็นบวกเหมือนกัน แต่จะมีความเข้มของสีแตกต่างกันในแต่ละส่วนของต้น และกัญชาจะให้ความเข้มของสีเข้มกว่ากัญชง ดังตาราง
หมายเหตุ + คือให้ผลเป็นบวกกับ Fast Blue B Salt จำนวนเครื่องหมาย + แสดงให้เห็นถึงความเข้มของ สีที่เกิดขึ้น เช่น ++ จะเข้มกว่า +
การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารโดยใช้เครื่องแก๊สโคมาโตรกราฟ(Gas Chromatography, C)
การปฏิบัติการวิเคราะห์หาปริมาณสาร โดยการสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยตัวทำละลายใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิดคือ Petroleum Ether , Hexane , Methanol พบปริมาณสารแตกต่างกันระหว่างกัญชง กับกัญชา โดยมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของลำต้น ดังแสดงในตาราง
หมายเหตุ
- หมายถึง ตรวจไม่พบ
 , หมายถึง ไม่ได้ทำการวิเคราะห์
 * Petroleum Ether เป็นสารที่ใช้ในการสกัดได้ดี
สรุป
ในการทดสอบปฏิกิริยาการเกิดสีกับ Fast Blue B Salt พบว่ากัญชงจะมีการติดสีน้อยกว่ากัญชา แสดงให้เห็นว่ากัญชงมีปริมาณสารน้อยกว่า จึงทำให้เกิดการติดสีจางกว่ากัญชาที่มีการติดสีเข้มสามารถมองเห็นได้ชัดเจน กว่า
เมื่อปฏิบัติการวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณสารจะเห็นได้ว่ากัญชงจะมี ปริมาณสาร CBD ที่มีฤทธิ์ต่อต้านฤทธิ์ของสาร THC ในส่วนต่างๆของต้นมากกว่ากัญชา และมีปริมาณมากกว่าสาร THC ที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาททำให้ประสาทหลอน ส่วนในกัญชาจะมีปริมาณสาร THC ที่เป็นสารเสพติดในส่วนต่างๆของต้นมากกว่ากัญชง และปริมาณมากกว่าสาร CBD ที่ฤทธิ์ตรงข้ามกับสาร THC
การเพาะปลูกกัญชงในพื้นที่ หรือบางสภาพแวดล้อมประเทศไทยยังได้ผลผลิตต้นกัญชงปริมาณน้อย และมีสาร Delta-9-tetrahydrocannabinol มากกว่า 0.3 % ซึ่งเกินกว่าทางกฎหมายสากลกำหนด สภาพแวดล้อมของพื้นที่ในภูมิประเทศที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน เช่น ปริมาณความชื้น ความลึกของระดับน้ำใต้ดิน ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ลักษณะของเนื้อดิน อุณหภูมิ ลม อาจมีผลให้การสังเคราะห์สาร THC ในกัญชงแตกต่างกัน 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชกัญชง 

กัญชงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa (L.) SEREBR ssp. culta. Prol. Asiatica. SEREBR และใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย  โดยทั่วไปจะมีสารเสพติด Delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) ต่ำกว่า 0.3 %  ซึ่งทางกฎหมายสากลไม่ถือว่าเป็นพืชเสพติด  โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญของเส้นใยกัญชง ได้แก่ การใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยของเสื้อผ้าและการทำเยื่อกระดาษสำหรับ ประเทศไทยยังจัดเป็นพืชห้ามปลูกตามกฎหมายยกเว้นเพื่อการวิจัย และต้องขออนุญาตพิเศษ
ราก : เป็นระบบรากแก้ว (Tap root system)  มีรากแขนงจำนวนมากจากการศึกษากายวิภาคของรากพบว่ารากมีการเจริญขั้นที่สอง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นต่างๆตามลำดับคือ ชั้นของ epidermis ชั้น Cortex ประกอบเซลล์   parenchyma มีผนังบางถัดเข้ามาเป็นกลุ่มท่อลำเลียง  โดยเป็นเนื้อเยื่อ secondary xylem และยังคงพบ primary xylem เรียงตัวกันแบบ diarch เป็นสองวงอยู่ตรงกลาง

ดอก : พบว่าดอกมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน  ออกดอกตามซอกใบและปลายยอด  

- ดอกเพศผู้ : ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบ panicle ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกันเป็นอิสระมีสีเขียวอมเหลือง  พบเกสรเพศผู้ 5 อัน  ลักษณะช่อดอกห้อยลง  ระยะเวลาในการบานประมาณ 2 เดือน

- ดอกเพศเมีย : เกิดตามซอกใบและปลายยอดในบริเวณช่อดอกจะอัดตัวกันแน่น  ช่อดอกเป็นแบบ Spike ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มห่อหุ้มรังไข่ไว้ภายใน  มี stigma  2 อัน สีน้ำตาลแดง ดอกจะไม่มีการบาน  แต่จะยื่นเพียง stigma ออกมาเท่านั้น  อายุของดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 3 - 4  สัปดาห์ก็จะติดผล

ผลและเมล็ด : พบว่าผลพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 - 3 สัปดาห์หลังออกดอก  ผลเป็นแบบ Achene เมล็ดแห้งสีเทา รูปไข่ ผิวเรียบเป็นมันมีลายประ ขนาดประมาณ 3 - 4  มม.  ปริมาณ  1 กิโลกรัม มีประมาณ 35,000 เมล็ด หรือจำนวน 35 เมล็ด มีน้ำหนักประมาณ 1 กรัม

ใบ : การ จัดเรียงตัวของใบมี 2 แบบ คือ ช่วงแรกมีการจัดเรียงตัวแบบ Opposite จนถึงคู่ใบที่ 5 - 9 หลังจากนั้น มีการจัดเรียงตัวแบบ Spiral ใบเป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ ใบจริงคู่แรกเป็นใบเดี่ยวจากนั้นเพิ่มจำนวนแฉก  โดยใบแก่แยกเป็น 5 - 7 แฉก  เมื่อมีการสร้างดอกจำนวนแฉกของใบค่อยลดลงตามลำดับเหลือเพียง 1 - 3 แฉก เท่านั้น

ลักษณะ กายวิภาคของใบที่ศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์  พบผลึกในเซลล์ Cystolith บริเวณชั้น Upper epidermis  ชั้นถัดมาเป็นชั้นของ Palisade cell  ที่เรียงตัวกันชั้นเดียวและชั้นถัดไปเป็น Spongy cell สำหรับชั้น lower epidermis พบขน (Hair) พบท่อลำเลียงน้ำ (Xylem) อยู่ด้านบนและท่อลำเลียงอาหาร (Phloem) อยู่ด้านล่าง มี Collenchyma เสริมความแข็งแรงบริเวณด้านบนและด้านล่างของใบ

ลำต้น : พบว่าลำต้นตั้งตรง มีลักษณะอวบน้ำ  เมื่อเป็นต้นกล้า และเมื่อเจริญได้ 2 - 3 สัปดาห์ เริ่มมีการสร้างเนื้อไม้ทำให้ลำต้นแข็งแรงมากขึ้น  ลำต้นที่เจริญเต็มที่มีลักษณะหกเหลี่ยม  การเจริญเติบโตของต้นทางด้านความสูง พบว่าจะช้าในช่วง 6 สัปดาห์แรก  หลังจากนั้นจะเพิ่มความสูงอย่างรวดเร็วจนมีความสูงเฉลี่ยคงที่ คือ ประมาณ 300 ซม. เนื่องจากมีการออกดอกแล้ว  การศึกษากายวิภาคของลำต้น พบว่า เซลล์ชั้นสูงมีการสร้างชั้น Periderm  ชั้นถัดไปเป็นชั้นของ Secondary Phloem ซึ่งในชั้นนี้พบว่า Fiber ผนังหนามาก  เป็นส่วนที่ใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย  ถัดเข้ามาเป็น Secondary Xylem และ Pith



ส่วนประกอบเคมีของสารในกัญชง-กัญชา



กัญ ชง-กัญชา สามารถสังเคราะห์สารที่เรียกว่า แคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ชนิดต่าง ๆ มากมายที่มีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างกัน ได้แก่ แคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) และ             ไอโซเมอร์ (Isomers) ต่าง ๆ ของเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol,  THC) ได้แก่  (1) เดลต้า-9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Δ9–Tetrahydrocannabinol,  Δ9–THC) มีฤทธิ์ทางด้านจิตใจทำให้เกิดอารมณ์เคลิบเคลิ้มและเป็นสุข ถ้าเสพโดยการสูบจะออกฤทธิ์แรงกว่ารับประทาน (2) เดลต้า-8-ไฮโดรแคนนาบินอล (Δ8–Tetrahydrocannabinol,  Δ8–THC) ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตใจทำให้เกิดอารมณ์เคลิบเคลิ้มจึงไม่ใช่สารเพติด (3) แคนนาบินอล (Cannabinol,  CBN) เป็นสารผลิตผลจากการออกซิเดชัน (Oxidation) ของเดลต้า-9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล และยังเป็นสารมีฤทธิ์ทำให้เกิดการเสพติด, (4) แคนนาบิโครมีน (Cannabichromine, CBCh)  (5) แคนนาบิโนลิกแอซิด (Cannabinolic  acid,  CBNA) มีฤทธิ์ทำให้สงบและเป็นยานอนหลับ  และยังมีการตรวจพบสารแคนนาบินอยด์ชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด  ได้แก่ (6) แคนนาบิไดโอลิกแอซิด (Cannabidiolic  acid,  CBDA),  (7) แคนนาบิโครมีนิกแอซิด (Ccannabichromenic  acid,  CBChA),  (8) แคนนาบิไซคอล (Cannabicyclol),  (9) แคนนาบิไดวารอล (Cannabidivarol)  ปริมาณของสารแต่ละชนิดในพืชแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันไปและขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ (Climate),  ดิน (Soil) ที่ใช้ปลูก และปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง  ไอโซเมอร์ที่เป็นเดล ต้า-9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Delta-9-tetrahydrocannabinol) เป็นส่วนประกอบในกัญชาที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตและประสาทรวมทั้งมีผลทาง สรีรวิทยาได้มาก  เตตราไฮโดรแคนนาบินอล มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน  ไม่ค่อยละลายในน้ำ การเรียกชื่อสารเสพติดชนิดนี้โดยทั่วไปนิยมเรียกชื่อสั้นๆ ว่า สารทีเอชซี (THC)   ปริมาณสารเสพติดทีเอชซีในกัญชาจะอยู่ในช่วง  0.5-6 %,  และปริมาณของสารเสพติดในรูปผลึกของแข็งที่ตกผลึกในน้ำมันกัญชา (Hashish  oil) อาจสูงได้ถึง 60 %
ในการจำแนกพืชกัญชงจากกัญชาโดยใช้วิธีเคมีแต่ก่อนจะใช้ปริมาณของเดลต้า-เก้า-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Δ9–Tetrahydrocannabinol,  Δ9–THC) และแคนนาบิไดออล (Cannabidiol,  CBD) เป็นสารหลักที่สำคัญ  โดยกำหนดหลักเกณฑ์ว่า
กัญชา (Drug  type  Cannabis  sativa  L.) มีปริมาณ  Δ9–THC  มากกว่าหรือเท่ากับ  0.5 % (น้ำหนักต่อน้ำหนักแห้ง) และปริมาณ  CBD  น้อยกว่า  0.5 % (น้ำหนักต่อน้ำหนักแห้ง)
กัญชงแท้ปลูกไว้เพื่อต้องการเส้นใย (Fiber  hemp) มีปริมาณ  Δ9–THC  น้อยกว่า  0.5 % (น้ำหนักต่อน้ำหนักแห้ง) และปริมาณ  CBD  มากกว่าหรือเท่ากับ  0.5 % (น้ำหนักต่อน้ำหนักแห้ง)
กัญชงพวกที่อยู่กลาง ๆ ระหว่างพืชเส้นใยและพืชเสพติด (Intermediate) มีปริมาณ                 Δ9–THC มากกว่าหรือเท่ากับ  0.5 % (น้ำหนักต่อน้ำหนักแห้ง) และปริมาณ  CBD  มากกว่าหรือเท่ากับ  0.5 % (น้ำหนักต่อน้ำหนักแห้ง)

โครงสร้างทางเคมีของสารใน กัญชง-กัญชา

สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) มีสูตรโมเลกุล (chemical  structure) เป็น  C21H30O2 และมีมวลโมเลกุล (Molecular  mass) เป็น  314.46  โดยมีสูตรโครงสร้างทางเคมี (Chemical  structure) ดังแสดงในภาพที่ (1, 2A)

ลักษณะทางกายภาพของเตตราไฮโดรแคนนาบินอลเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีจุดเดือด  200 °ซ  ไม่ค่อยละลายน้ำ  โดยสามารถละลายในน้ำได้เพียง  2.8 กรัม/ลิตร  ที่  23 °ซ  แต่ละลายในตัวทำละลายพวกแอลกอฮอล์  หรือน้ำมัน (Oils) ต่าง ๆ ได้ดี  โดยสาร Cannabidial (CBD) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีดังแสดงในภาพที่ (1D) จะเป็นสารต้นทางในการใช้สร้างสาร Tetrahydro cannabinol (THC) และ สาร THC บางส่วนจะเกิดการ Oxidation กับออกซิเจนในอากาศเปลี่ยนไปเป็นสาร cannabinol (CBN) ภาพที่ (1C) ซึ่งยังถือว่าเป็นสารเสพติดด้วย

 การเจริญเติบโตของพืชกัญชง

จาก ผลการศึกษาดังกล่าว กัญชงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรก จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลงใช่วงเดือนที่ 4 ซึ่งจะพบว่าค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น และค่าเฉลี่ยความสูงของลำต้นจะเพิ่มเล็กน้อย
การ เจริญเติบโตของเรือนยอดกลับพบว่าเมื่ออายุเกิน 80 วันกัญชงมีค่าเฉลี่ยของขนาดเรือนยอดลดลง ในขณะเดียวกันพบว่ากัญชงมีอัตราสะสมมวลชีวภาพทั้งต้นเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องเมื่ออายุเพิ่มขึ้นจาก 20-120 วัน
ผล การศึกษาในครั้งนี้ ได้พิจารนาโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตของต้นกัญชง จากลักษณะหลักๆ เท่านั้น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว กัญชงสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เมื่ออายุ 120 วัน เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นกัญชง ประมาณ 20 มิลลิเมตร และวัดความสูงลำต้นได้ประมาณ 3.20 เมตร นอกจากนั้นสามารถวัดการแผ่คลุม ของเรือนยอดได้ประมาณ 1.5 เมตร 
นอก จากนี้คณะวิจัยยังได้ออกสำรวจและรวมความรู้ ภูมิปัญญาชาวม้ง บ้านแม่สาใหม่และบ้านผานกกก ที่ยังคงอนุรักษ์วิธีการทำเส้นใยกัญชงและวิธีการถักทอ จนได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นผ้าใยกัญชง แต่ที่น่าสังเกตว่าวิธีการเหล่านี้มีเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ในหมู่บ้านเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้

สรุปผลการดำเนินงาน

1.การ ทดลองปลูกกัญชงระยะเริ่มแรกในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่เปิดโล่งบนที่สูงประมาณ 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างลาดชัน ประมาณ 90 % และมีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อยสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีความเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของต้นกัญชง โดยอุณหภูมิประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส มีความชื้นอากาศประมาณ 85-95% และปริมาณน้ำฝนประมาณ 1,500-2,000 มิลลิเมตร
2. กัญชงมีอัตราความงอกสูง ประมาณ 85-95 % แต่กลับพบว่าการเจริญเติบโตในช่วงระยะเริ่มต้นค่อนข้างช้า ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ฝนตกชุกทำให้ดินไหลกลบต้นอ่อน ทำให้ต้นกล้าเกิดอาการแคระแกนในช่วงแรก นอกจากนี้ยังมีกระต่ายป่ามากัดกินต้นอ่อน และแมลงศัตรูพืชที่ที่สำคัญคือ จิ้งหรีดชอบกัดกินยอดอ่อนของต้นกล้า ทำให้การเจริญเติบโตล่าช้าช่วงแรก
3.กัญ ชงมีอัตราการเจริญเติบโตสูงในช่วงอายุตั้งแต่ 40 วัน จนถึงอายุประมาณ 90 วัน จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตของกัญชงจะต่ำลง แต่ขนาดและความสูงรวมทั้งจำนวนข้อของต้นกัญชง ยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนขนาดใบกัญชงจะลดลงและจะร่วนหลนในช่วงเดือนที่ 4 ทำให้ขนาดการปกคลุมเรือนยอดลดลงด้วย แต่กลับพบว่ากัญชงมีการสะสมมวลชีวภาพ ทั้งต้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.ต้น กัญชงที่ได้จากการทดลองปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบ คิดเป็นผลผลิตได้ ประมาณ 70,992 ต้น/ ไร่ หรือเมื่อตากแล้วคิดเป็นน้ำหนักต้นแห้ง ประมาณ 2,466.26 กิโลกรัม/ไร่
5.การ ออกดอกและติดผลใช้ช่วงเวลาประมาณ 20 วัน เนื่องจากอาจเป็นเพราะกัญชงต้องการปริมาณแสง และอุณหภูมิแตกต่างระหว่างกลางวัน กลางคืนที่เหมาะสม

ปัญหาและข้อเสนอแนะ

1.การ เตรียมพื้นที่ทดลองปลูกกัญชงในระยะเริ่มต้นค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากพื้นที่แปลงศึกษาข้นข้างลาดชัน และมีวัชพืชคลุมดินจำนวนมากยากแก่การกำจัด โดยเฉพาะหญ้าคา ซึ่งมีรากสานเป็นร่างแหในดิน จึงมีความจำเป็นใช้แรงงานคนเป็นจำนวนคนมากการเตรียมพื้นที่เพื่อทดลองปลูกใน ครั้งต่อไป
2.การ ปลูกกัญชงตามขั้นบันได ทำให้ปลูกกัญชงได้น้อย ในขณะพื้นที่ระหว่างขั้นบังใด มีมากกว่าและเป็นบริเวณที่มีวัชพืชขึ้นปกคุมหนาแน่น ต้องเสียเวลาในการกำจัดวัชพืชในครั้งต่อไป น่าจะได้ทดลองปลูกกัญชงในพื้นที่ระหว่างขั้นบังไดด้วยเพื่อช่วยลดจำนวน วัชพืชที่อยู่รอบแปลงขั้นบังได
3.สภาพ พื้นที่มีความลาดชันสูง ทำให้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ของตนกล้าในช่วงแรก เพราะว่าเวลาฝนตกจะทำให้ตะกอนดินจากที่กว่าไหลลงมาทับต้นกล้าที่ยังอ่อนอยู่ ทำให้ต้นกล้าเกิดการแคระแกนและถึงตายก็มีจะต้องหาววิธีการที่เหมาะสม ในการทดลองปลูกในครั้งต่อไป
4.สภาพ พื้นที่ปลูกบริเวณหุบห้วยจะมีลักษณะเป็นตาน้ำ ในช่วงที่ฝนตกชุกจะมีน้ำซึมซับออกมาตลอด ทำให้น้ำในใต้ดินสูงจนเป็นพื้นที่ชื้นแฉะ จนต้นกล้ากัญชงไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ การเตรียมพื้นที่ปลูกในครั้งต่อไปจะต้องทำร่อง เพื่อระบายน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว
5.ต้น กล้าที่งอกจากเมล็ดอายุไม่เกิน 20 วัน จะถูกแมลงและจิ้งหรีดกัดกินยอดเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสียหายบางหลุมไม่สามารถเจริญต่อไปได้ จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อหลุมในการทดลองปลูกครั้งต่อไป
6.การ ทดลองปลูกกัญชงในระยะเริ่มแรกนี้ จะพบโรคและแมลงบางชนิดที่เกิดกับต้นกัญชง แต่ยังมีมีมากนัก น่าจะได้ทำการศึกษาโรคและแมลงที่อาจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นกัญชง ในครั้งต่อไป นอกจากนี้น่าจะทำการศึกษาคุณสมบัติดิน และปริมาณธาตุอาหารดินประกอบด้วย เนื่องจากพบว่าบางพื้นที่กัญชงมีการแสดงอาการขาดธาตุอาหาร
7.การทดลองปลูกการกัญชง ครั้งนี้ได้ใช้เพียงสายพันธุ์เดียว ดังนั้นจึงไม่สามารถศึกษาเปรียบเทียบสายพันธุ์ขึ้นได้
8.การงอก ของเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกที่สูง แต่เมื่อเก็บเมล็ดไว้นานในสภาพปกติแค่ 3 เดือน ความสามารถในการงอกลดต่ำลง ดังนั้นควรศึกษาระยะเวลาของการเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อความเหมาะสมของการดำเนิน งานเก็บเมล็ดต่อไปด้วย
9.ควรมีการศึกษาระยะของการพักตัวของเมล็ดเชื้อพันธุ์ ในสภาพที่แตกต่างกันเพื่อหาระยะที่เหมาะสมสำหรับการปลูกครั้งต่อไป
10.การ เจริญเติบของต้นกัญชงไม่มีความสม่ำเสมอ เนื่องจากมีความสามารถในการงอกของเมล็ดที่ปลูกไม่เท่ากัน โดยเฉพาะต้นอ่อนจะมีแนวโน้มขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วยจึงต้องดูแลต้นกล้าใน ระยะแรกด้วย และเมื่องอกบางครั้งเผชิญกับช่วงที่มีฝนตกน้อยจึงสร้างความเสียหายแก่ต้น กล้า ความอุคมสมบูรณ์ของดินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเจริญเติบโตต่างกัน โดยดินที่ตัดหน้าดินออกไปจะเป็นบริเวณที่มีเจริญเติบโตช้า เมื่อเทียบกับบริเวณที่มีหน้าดินหนากว่า ดังนั้นการปรับปรุงดินให้มีความอุคมสมบูรณ์ก่อนจึงมีความจำเป็น อาจจะทำได้โดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพหรือหลังการเก็บเกี่ยวปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อเพิ่มแร่ธาตุแก่ดิน
11.การ ปลูกเพื่อผลิตเส้นใยและทำกระดาษควรปลูกแบบหว่าน หรือแบบเป็นหลุมควรมี คือระยะระหว่างหลุมไม่เกิน 10 เซนติเมตร และเก็บผลผลิตดีที่สุดคอ ต้นกัญชงมีอายุ 90 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่กัญชงไม่ออกดอก สามารถเก็บได้ทั้งต้นเพศผู้หรือเพศเมีย ดังนั้นจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกต้น  หากมีเมล็ดก็สารปลูกต่อได้ครั้งที่ 2 ส่วนการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์สามารถปลูกในถุงเพาะกล้าก่อน เมื่อต้นสูง 5-7 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกในแปลงที่มีระยะระหว่างหลุม40-50 เซนติเมตร กัญชงจะแตกกิ่งทรงพุ่ม กว้างได้ถึง 2.5 เมตร หรือระหว่างการตัดต้นเมื่อเก็บเส้นใยเหลือต้นที่ขอบแปลงที่มีลักษณะแตกกิ่ง มากไว้เก็บเมล็ดพันธุ์ต่อไป
13.ช่วง แสงมีอิทธิพลต่อการออกดอกของกัญชง ซึ่งช่วงการทดลองนี้ดีต่อผลการปลูก เพื่อผลิตเส้นใย แต่การปลูกเพื่อเก็บเมล็ดเป็นช่วงเวลาที่ไม่เมาะสม เนื่องจากกัญชงจะออกดอกช้า เวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์น่าจะเป็นช่วงปลายฝนจึงจะ ให้ผลผลิตดี
14.การ เก็บเกี่ยวต้นเพื่อผลิตเส้นใย ช่วงอายุ 90 วัน จะไม่มีปัญหาเรื่องสารเสพติดเพราะต้นกัญชงยังมีอายุน้อย และหากมีการสร้างสารใดๆ ข้อมูลจากเอกสาร ค้นคว้าพบว่าพืชจะสร้างสารปริมาณมากในช่วงอายุได้ 90-120 วัน คือวันเริ่มมีการออกดอกซึ่งขณะนี้ได้เก็บตัวอย่างพืชในแต่ละช่วงไปสกัด สารออกฤทธิ์แล้ว  



โครงการที่ 3 โครงการทดลองปลูกกัญชงเพื่อพัฒนาศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการ

  1. จัดหาเมล็ดพันธุ์กัญชง
  2. จัดหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมในลักษณะแปลงทดลองโดยจัดจัดเตรียมพื้นที่ประมาณ 15 ไร่
  3. ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แกลักษณะดิน ปริมาณแร่ธาตุหลักในดิน ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิ ของพื้นที่ทดลอง
  4. จัดปลูกบันทึกข้อมูล วัดอัตราการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของต้นกัญชงทุกๆ 10-14 วัน
  5. เก็บข้อมูลด้านโรคพืชและแมลงศัตรูพืช
  6. บันทึกข้อมูลผลผลิตที่ระยะต่างๆ ของการเก็บเกี่ยวทั้งต้น เฉพาะส่วนให้เยื่อเส้นใยและเมล็ด คำนวณเป็นผลผลิตรวมต่อไป
  7. ทดลองระยะห่างของการปลูกต้นกัญชงในระยะปลูกต่างๆ 
  8. รวบรวมการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบที่บันทึกไว้และจัดทำรายงาน

บทนำ

การ ศึกษาและทดลองปลูกกัญชงในครั้งนี้เป็นการต่อเนื่องจากการทดลองโดยคณะวิจัย ของสวนพฤกษศาสตร์ฯ เมื่อปี 2544 ณ สถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้ สิ่งแวดล้อมตามพระราชดำริ บ้านปากแซม ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้คณะทำงานของสวนพฤกษศาสตร์ ฯ และหน่วยงานร่วม ได้ดำเนินการทดลองปลูกกัญชงในพื้นที่แปลงศึกษา เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ โดยได้แบ่งเนื่องที่ทดลองปลูกกัญชงออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเนื้อที่ ประมาณ 13 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เส้นใยเป็นวัตถุดิบ ในการศึกษาศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจของกัญชงในด้านต่างๆรวมทั้งเก็บเมล็ดเพื่อ ใช้ในการปลูกครั้งต่อไป ส่วนที่สองมีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์จัดทำเป็นแปลงทดลองเพื่อหาระยะปลูกที่เหมาะสมในการเจริญ เติบโต ของต้นกัญชง
ใน ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินงานแปลงแรกเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2545 และแปลงที่ 2 เริ่มปลูกวันที่ 4 กันยายน 2545 โดยคณะทำงานได้ศึกษาติดตามการเจริญเติบโตของกัญชงและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวด ล้อมบริเวณพื้นที่ปลุกอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดรอบระยะเวลาการศึกษาทุกๆ 14 วัน และเก็บบันทึกผลข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไป
รายงาน การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงรายงานเบื้องต้นที่อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลต่อ เนื่องต่อไป และเพื่อเปรียบเทียบกับผลการปลูกที่บ้านแปกแซม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ คณะทำงานหวัดเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้จาการศึกษาทดลองในครั้งนี้จะเป็น ประโยชน์และเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ สามารถส่งเสริมให้เกษตรกาปลูก เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต 
  การศึกษากัญชงเพื่อพัฒนาศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจตามพระราชดำริ ณ สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงดอยแบแล อันเนื่องพระราชดำริ บ้านอมแฮดนอก ตำบลสบโขง อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สถานีตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภออมก๋อยไปจากทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมยากลำบากในช่วงฤดูฝน พื้นที่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขามีความสูงประมาณ 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
สภาพ ภูมิอากาศทั่วไป มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกัญชง โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 6.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 36.4 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตร/ปี คุณสมบัติของดินเป็นดินร่วนปนทราย มีค่าเฉลี่ย PH=6.1 มีปริมาณสารอาหาร OM 5.20% , N 0.26, P 26.39, K 701.25, Ca 407.46, Mg 192.5

การดำเนินงาน

การเตรียมการศึกษา

1.จัด เตรียมเมล็ดพันธุ์กัญชง สายพันธุ์ PS No.1.(ไทย-เยอรมัน) จากแปลงทดลองปลูกกัญชงสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตรป่าไม้สิ่งแวดล้อมตามพระ ราชดำริ บ้านแปกแซม ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 กิโลกรัม
2.จัดเตรียมพื้นที่เป้าหมายพื้นที่ปลูกเนื้อที่ดำเนินการปลูกประมาณ 15 ไร่
3.จัดเตรียมพื้นที่ปลูกโดยใช้แรงงานกำจัดวัชพืชในพื้นที่เป็นไร่ร่างมีวัชพืชขึ้นหนาแน่น ได้ทำการตัดถางแล้วนำมากองทำเป็นปุ๋ยหมัก
4.จัด เตรียมพื้นที่แปลงปลูกปรับสภาพพื้นที่เนื้อที่ลาดชันให้เป็นขั้นบันได โดยใช้แรงงานคนเนื่องจากจากพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการนำเครื่องจักรกลเข้า ไปทำงานเพื่อความเหมาะสมสำหรับการปลูก
5.จัด แบ่งพื้นที่ทดลองปลูกกัญชงออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่เพื่อเป็นวัตถุดิบในการศึกษาศักยภาพของกัญชงในด้านต่างๆและกันพื้นที่บาง ส่วน เพื่อใช้เพื่อใช้เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในการทดลองปลูกครั้งต่อไป ส่วนที่สองเพื่อทดลองระยะปลูกระยะต่างๆ เพื่อทดสอบการเจริบเติบโตและคุณภาพของเส้นใยรวมถึงการให้ผลผลิตของเมล็ด การเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีกับการเจริญเติบโตของกัญชง จำนวน 2 ไร่

6.ทดลองปลูกด้วยวิธีการหยอดเมล็ด ซึ่งเป็นวิธีที่ชาวกระเหรี่ยงใช้ปลูกข้าวไร่โดยแยกปลูก 3 แปลง 
6.1.ปลูก เพื่อใช้ลำต้นและเส้นใยเป็นวัตถุดิบเพื่อศึกษา โดยใช้เมล็ด 4-6 เมล็ดหยอดในหลุมระยะระหว่างหลุมประมาณ 8-15 ซม. ในพื้นที่ปลูก 13 ไร่ โดยมีการวางแปลงทดลองการเจริญเติบโตของต้นกัญชงทั้งหมด โดยวางแปลงศึกษาขนาด 1X1 ตรม. จำนวน 10 แปลง เพื่อเป็นตัวแทนในการติดตามการเจริญเติบโตโดยทำการเก็บตัวอย่าง 10 ตัวอย่าง ในแต่ละแปลง ทุกช่วงเวลา 14 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว
 6.2.แปลง ทดลองเพื่อการเก็บเส้นใยใช้เมล็ด 3-5 เมล็ด หยอดลงหลุมพื้นที่แปลงทดลองขนาด 5X7 ม. และ 4X6 ม.โดยมีการทดลองระยะของการปลูกต้นกัญชงดังนี้
6.2.1.ระยะระหว่างต้นระยะระหว่างหลุม 10X20 ซม. จำนวน 3 แปลง
6.2.2.ระยะระหว่างต้นระยะระหว่างหลุม 15X15 ซม. จำนวน 3 แปลง
6.2.3.ระยะระหว่างต้นระยะระหว่างหลุม 15X20 ซม. จำนวน 3 แปลง
6.2.4.ระยะระหว่างต้นระยะระหว่างหลุม 20X20 ซม. จำนวน 3 แปลง
แปลงทดลองขนาด 4X6  ม.ทดลองการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดโดยมีระยะปลูก ดังนี้
6.2.5.ระยะระหว่างต้นระยะระหว่างหลุม 10X50 ซม. จำนวน 3 แปลง
6.2.3.ระยะระหว่างต้นระยะระหว่างหลุม 20X50 ซม. จำนวน 3 แปลง
6.3.แปลงทดลองโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และอนินทรีย์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกัญชง ขนาด 5X7 ม.ดังนี้คือ
6.3.1.แปลงทดลองโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 40 กก/ไร่ จำนวน 3 แปลง
6.3.2.แปลงทดลองโดยใช้ปุ๋ยคอก 2,000 กก/ไร่ จำนวน 3 แปลง
6.3.3.แปลงทดลองเปรียบเทียบไม่ใส่ปุ๋ยใดๆ จำนวน 3 แปลง
7.นำกัญชงคลุมยากันเชื้อราและแมลงก่อนไปปลูก
8.กำจัด วัชพืชโดยใช้แรงงานคนในช่วงแรกของการเจริญเติบโต จนทรงพุ่มของต้นกัญชงเจริญเติบจนปกคลุมวัชพืชได้บริเวณรอบขอบแปลงทำการกำจัด วัชพืชตามช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

9.บันทึก ข้อมูลอุปสรรคต่างๆ ของการปลูก จากรศึกษาทดลองพบว่าในช่วงแรกของการมดง่ามได้เข้ามาทำลายเมล็ดกัญชงตามแนว ขอบแปลงและเมื่องอกได้ประมาณ 20 วัน พบการเข้าทำลายของหนอนกัดกินใบอ่อน และในแปลงทดลองบางส่วนพบอาการรากและโคนเน่า ทั้งนี้เนื่องจากมาจากสาเหตุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้พื้นที่บางส่วนเกิด น้ำท่วมขัง 

การปลูกกัญชงบนที่สูง

ผู้เขียนขอนำบทความ เรื่อง “การปลูกกัญชงบนพื้นที่สูง” ที่เป็นบทความของอาจารย์จันทร์บูรณ์ สุทธิ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลหรือบทความภาษาไทยฉบับแรกๆ ที่ได้อธิบายถึงพืชกัญชงบนพื้นที่สูง ซึ่งท่านได้เขียนบทความ ในปี พ.ศ.2529 ซึ่งเป็นบทความที่อธิบายถึงวิธีการปลูกและจัดการรวมทั้งแปรรูปเป็นเส้นใยและ ถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม ของชาวไทยภูเขาอย่างสมบูรณ์ และผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาด้านวิชาการบางส่วน ดังนี้

ชาว เขาเผ่าม้ง ลีซอและอีก้อซึ่งเป็นกลุ่มชาวเขาที่มีการปลูกฝิ่นและข้าวโพดโดยประเพณีนอก เหนือจากการปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ชาวเขากลุ่มนี้มีความคุ้นเคยกับการปลูกและการใช้ประโยชน์จากต้นกัญชงมาเป็น ระยะเวลาอันยาวนาน ได้มีการใช้เส้นใยของพืชชนิดนี้เอามาทอเป็นผ้าใช้ตัดเย็บเสื้อผ้าเครื่อง นุ่งห่ม ทำเป็นถุงย่ามใช้แบบเอนกประสงค์ ฟั่นเป็นเชือกสำหรับใช้แบบเอนกประสงค์เช่นกัน ถักเป็นแผ่นบางแบนๆ ใช้เป็นสายสะพานไหล่หรือหัวยึดติดกับตระกร้า หรือภาชนะแบบอื่นที่ใช้บรรจุสิ่งของที่จำเป็น เช่น กระบอกไม้ไผ่ใส่น้ำบริโภคและใช้สอยจากแหล่งน้ำ น้ำเต้าบรรจุน้ำ เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดข้าวโพด ผักและผลผลิตอื่นๆ ฟั่นเป็นเชือกทำสายหน้าไม้ ฯลฯ กล่าวได้ว่ากัญชงเป็นพืชสำคัญชนิดหนึ่งในการดำรงชีวิตแบบชุมชนจารีตประเพณี ดั้งเดิมของพวกเขาบางเผ่ามาแต่อดีตกาล
ปัจจุบัน สืบเนื่องจากความเจริญทางวิชาการด้านสิ่งทอ ความสะดวกสบายในด้านเส้นทางคมนาคมมีส่วนทำให้ชาวเขาหลายเผ่าที่เคยใช้ผ้าที่ ทอจากฝ้ายซึ่งปลูกเพื่อใช้ทำเครื่องนุ่งห่มเช่น เย้าลีซอ อีก้อ หันมาใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ผ้าสำเร็จรูปจากภายนอกกันเป็นจำนวนมากแล้วก็ ตาม แต่ชาวเขาเผ่าม้งซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นชาวเขากลุ่มเดียวที่มีความ สัมพันธ์กับกัญชงมากที่สุดกว่าชาวเขาเผ่าอื่นนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับกัญชงตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย (โดยเฉพาะผู้หญิง) ยังคงมีการใช้ผ้าใยกัญชงกันอย่างแพร่หลาย ผู้หญิงเผ่าชาวเขาเผ่าม้งไม่ว่าจะเป็นกลุ่มย่อยชาวเขาเผ่าม้งขาว หรือชาวเขาเผ่าม้งดำ ยังคงมีการสวมกระโปรงที่ทำจากใยของต้นกัญชงอยู่
ผู้หญิง ชาวเขาเผ่าม้งดำจะมีการสวมใส่กระโปรงที่ทำจากเส้นใยกัญชงและมีลวดลายบาติ คที่สวยงาม ทั้งในชีวิตประจำวันและในเทศกาลตามจารีตประเพณี ส่วนผู้หญิงชาวเขาเผ่าม้งขาวนั้นจะมีการใช้กระโปรงสีขาวที่ไม่มีการย้อมทำ ลวดลายแบบชาวเขาเผ่าม้งดำ โดยเฉพาะในเทศกาลที่สำคัญประจำปีอันได้แก่ พิธีปีใหม่
ใน อดีตชาวเขาเผ่าม้งไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ เครื่องนุ่งห่มที่ใช้สวมใส่ผู้ตายจะถูกกำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่ทำจากใยกัญชงเท่านั้น จะใช้ผ้าชนิดอื่นไม่ได้ แต่ต่อมาข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ผ่อนคลายลงตามวันเวลาที่ผ่านไปจน กระทั่งปัจจุบันนี้ ผู้ชายชาวชาวเขาเผ่าม้งเวลาตายไม่ได้ใช้เครื่องนุ่งห่มที่ทำจากใยกัญชงอีก ต่อไปแล้ว แต่ข้อห้ามหรือความนิยมนี้ยังคงอยู่กับผู้หญิงชาวเขาเผ่าม้งในประเทศไทย จะเห็นได้จากการที่ผู้หญิงชาวเขาเผ่าม้งดำสูงอายุจะมีการจัดทำเสื้อผ้าใหม่ ที่ทำจากใยกัญชง เพื่อเป็นการเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าสำหรับใช้ตกแต่งศพของตัวเอง เสื้อผ้าเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีโดยไม่ผ่านการใช้มาก่อน ส่วนผู้หญิงชาวเขาเผ่าม้งขาวจะต้องใส่กระโปรงสีขาวในเวลาเสียชีวิตแล้วเช่น กัน และส่วนใหญ่จะใช้กระโปรงที่มีอยู่ ซึ่งยังคงมีสภาพที่ใหม่อยู่เสมอเพราะใช้เพียงปีละครั้งเท่านั้นเนื่องจากใน ชีวิตประจำวันของผู้หญิงชาวเขาเผ่าม้งขาว จะสวมกางเกงเช่นเดียวกันกับผู้ชาย
ใน บรรดาชาวเขาที่ปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจนั้น (รวมเย้าและมูเซอ) ไม่มีความรู้คุ้นเคยกับการปลูกและใช้ประโยชน์จากกัญชามาก่อนเลย จากการสอบถามชาวเขาเหล่านี้พบว่าพวกเขาไม่เคยได้รับการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้ แก่ของเผ่า หรือมีนิยายปรำปราเกี่ยวกับการปลูกกัญชา ในการเกษตรตแบบจารีตประเพณีของพวกเขาเลย รู้จักเฉพาะกัญชง
แต่ อย่างไรก็ดีกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย คือใน จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่บนพื้นที่ต่ำกว่ากะเหรี่ยงในภาคเหนือและอยู่ใกล้กับ ชุมชน คนไทยพื้นราบ น่าจะรู้จักคุ้นเคยกับพืชชนิดนี้มานานเช่นกัน เพราะว่ากัญชาเป็นพืชเสพติดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคกลางของประเทศ (คนภาคเหนือรู้จักและคุ้นเคยกับกัญชามาไม่นานกว่า 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง ยกเว้นคนไทยภาคอื่นที่ขึ้นมาทำงานหรือตั้งหลักแหล่งในภาคเหนืออาจจะรู้จัก พืชนี้มาก่อน)
ทั้งกัญชงและกัญชาต่างเป็นพืชที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ (family) CANNABIDACEAE และมีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ Cannabis sativa L. แต่แตกต่างกันในระดับ Subspecies โดย      พืชกัญชง Cannabis sativa L. subsp. sativa และกัญชา Canabis sativa L. subsp. indica (Lam.) E.Small & Cronquist ซึ่งนักวิทยาศาตร์เชื่อว่ากัญชงและกัญชาต่างมีแหล่งกำเนิดในบริเวณเอเชีย กลาง เพราะได้มีการพืชชนิดนี้ที่มีลักษณะเป็นพืชป่าซึ่งได้แก่ Cannabis ruderallis  Janisch ซึ่งพบในบริเวณเอเชียกลาง
กล่าวกันว่าพืชชนิดนี้หรือ Cannabis savita Lin. ได้มีการเพาะปลูกมาเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปี และได้เข้าสู่ประเทศจีนประมาณ 2,500 มีก่อนคริสต์ศักราช (Purseglove : 1974; 41. Zeven and Zhukuvsky: 1975; 63, 130) 
Zeven และ Zhukuvsky (นักพฤษศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย) ได้กำหนดบริเวณการกระจายตัวและบริเวณแหล่งกำเนิดของพืชเพาะปลูกทั่วโลก ซึ่งจากข้อมูลของบุคคลทั้งลองทำให้เราสามารถแบ่งพืชชนิดนี้ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. CHINESE TYPE ได้แก่กัญชงที่มีการกระจายตัวอยู่ในบริเวณที่ถูกเรียกว่า European Siberian Centre of Diversity ซึ่งเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยประเทศแผ่นดินใหญ่ยุโรปเกือบทั้งหมดมาทางทิศ ตะวันออกจรดไซบีเรีย จีนได้เพาะปลูกกัญชงเพื่อใช้เป็นเส้นใยและใช้ประโยชน์จากเมล็ดของมันมาโดย การสกัดน้ำมันจากเมล็ดที่เรียกกันว่าน้ำมันกัญชง (Zeven and Zhukuvsky: 1975; 130) สำหรับชาวเขาในประเทศไทย กลุ่มที่มีการปลูกกัญชงนั้นน่าจะได้รับอิทธิพลในการปลูกกัญชงมาจากคนจีนโดย ตรงหรือโดยทางอ้อม ในช่วงระยะเวลาที่พวกเขาได้ตั้งชุมชนอยู่ในหรือใกล้เคียงกับประเทศจีน ชาวเขาเหล่านี้ในประเทศไทยเท่าที่ทราบไม่พบว่ามีการทำน้ำมันจากเมล็ดของกัญ ชงหรือใช้ประโยชน์จากเมล็ดกัญชง นอกจากชาวเขาเผ่าชาวเขาเผ่าม้งที่ใช้เมล็ดกัญชงเป็นเภสัช
ปัจจุบัน นี้มีหลักฐานว่าชาวเขาเผ่าเย้า ปุงนุง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่มณฑลกวางสี และมีอายุยืนยาวกว่าปกติทั่วๆไป(คือมีผู้สูงอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป 20.6 คน ต่อ 1,000 คน) นั้น มีสาเหตุมาจากการบริโภคน้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดพืชที่คนจีนเรียกว่า “Houma” (ในเอกสารภาษาไทยที่แปลจากต้นฉบับภาษาจีนหรืออังกฤษ (?) ใช้คำว่า “น้ำมันกัญชง” ซี่งจากการสอบถามผู้แปลเอกสารคือคุณฝางอิง จากสถาบันชนชาติกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน คุณฝางอิงไม่เคยทราบว่ามีการใช้คำว่า “กัญชง” กับพืชชนิดนี้ที่ปลูกโดยชาวเขาในประเทศไทยมาก่อน) ซึ่งน่าจะได้แก่ hemp seed oil ที่มีการปลูกกันมากในประเทศจีนนั่นเอง (เหยา ซุ่น อัน,1982; 2)
2. Indian Type ได้แก่กัญชาซึ่งมีแหล่งกำเนิดและกระจายตัวอยู่ในบริเวณที่ถูกจัดให้อยู่ใน Hindustani Centre of Diversity ซึ่งประกอบด้วยประเทศอินเดีย บังคลาเทศ เนปาลและบางส่วนของประเทศปากีสถาน พม่า จากบริเวณแหล่งกำเนิดพืชนี้ได้บริเวณตะวันออกกลาง และประเทศอื่นๆ ต้นกัญชาจะถูกปลูกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บเกี่ยวเป็นพืชเสพติดเพียงอย่าง เดียวเท่านั้น(Zeven and Zhukuvsky: 1975; 30)
การ ปลูกกัญชงของชาวเขาเผ่าลีซอ อีก้อ และเย้า มักจะปลูกให้เป็นพืชผสมอยู่ในไร่ข้าว ข้าวโพด แต่ไม่มากนักในระบบการปลูกพืชแบบผสม (mixed cropping system) ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าชาวเขาพวกนี้ใช้ประโยชน์จากพืชนี้น้อย
ชาว เขาเผ่าม้งจะแตกต่างออกไป ส่วนใหญ่จะปลูกกัญชงเป็นพืชที่แปลงใหญ่ แต่ก็ไม่ใหญ่มากจนมีผลิตผลเหลือเฟือและเกินกว่าแรงงานในครัวเรือน การปลูกกัญชงของชาวเขาเผ่าม้งเป็นการปลูกแบบพืชเดี่ยว (Single cropping system) ไม่มีพืชอื่นปลูกผสมเลย อย่างไรก็ดีการปลูกกัญชงแบบผสมในไร่ข้าว และในไร่ข้าวโพดเหมือนกัน แต่นิยมปลูกตามบริเวณที่เป็นริมไร่และมีจำนวนไม่มากนัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บเมล็ดไว้ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่จะปลูกในปีต่อไป
ชาว เขาเผ่าม้งในประเทศไทยเริ่มปลูกกัญชงโดยใช้เมล็ด ภายหลังจากที่ได้ทำการเตรียมพื้นที่โดยการตัด ฟัน โค่น และเผาแล้ว ในประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของแต่ละปีพร้อมๆกันกับการปลูกข้าวโพดพวกเขาจะใช้วิธีเจาะหลุมโดยใช้เสียม ที่ทำด้วยไม้ หรือใช้เครื่องขุดเจาะหลุมปลูกข้าวแบบชาวเขาเผ่าม้งที่เรียกว่า “แต๋งแก่ง” แล้วจึงหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปในหลุมละ 4-5 เมล็ด ในความลึกจากพื้นดินประมาณ 1 เซนติเมตร ไม่กลบหลุม ระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นประมาณ 20-25 เซนติเมตร สำหรับต้นที่จะปลูกไว้เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์จะปลูกห่างกันตั้งแต่ 1-2 เมตร แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อต้องการให้มีการแตกกิ่งก้านมีดอกมากๆมีการปลูกด้วยการหว่านเมล็ดเหมือน กัน แต่เส้นใยที่ได้คุณภาพไม่สม่ำเสมอ
เดือน มิถุนายน ชาวเขาเผ่าม้งไม่นิยมปลูกต้นกัญชง เนื่องจากเส้นใยที่ได้จากการปลูกกัญชงในเดือนนี้จะสั้น และคุณภาพต่ำ เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือในเดือนมิถุนายน จะมีฝนตกมาก จะทำให้เมล็ดจมลึกลงไปจนทำให้เมล็ดเน่าไม่งอก (ดินไหลลงมาทับจากส่วนยอดเขาที่ลาดชันสูงกว่า)
ภาย หลังจากการปลูกกัญชงในแปลงแล้ว ถ้ามีฝนตกมาสม่ำเสมอการปราบวัชพืชก็ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากต้นกัญชงโตเร็วมาก แต่ถ้าฝนตกไม่สม่ำเสมออาจจะต้องมีการปราบวัชพืช 1 ครั้ง ฝนนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการปลูกต้นกัญชง เพื่อผลิตเส้นใยที่มีคุณภาพ ปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอ จะช่วยให้เส้นใยกัญชงที่เก็บเกี่ยวมีคุณภาพสูง แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงไปเป็นเวลานานๆ ต้นกัญชงที่ปลูกจะเกิดอาการชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ได้เส้นใยที่ไม่มีคุณภาพ
โดย ทั่วๆ ไปในการปลูกพืชของชาวเขาที่สูงจะไม่มีการใช้ปุ๋ย สำหรับพื้นที่ปลูกทุกชนิดไม่ว่าพืชหลักหรือพืชรอง แต่กัญชงแตกต่างออกไปจากพืชอื่นๆ เพราะในการปลูกกัญชงแม้ว่าจะมีการใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นกัญชงด้วย ปุ๋ยที่ชาวเขาเผ่าม้งใช้ในการบำรุงต้นกัญชงได้แก่ “ขี้เถ้า” ซึ่งจะต้องมีการใส่ขี้เถ้าในพื้นที่ปลูกกัญชงอย่างน้อย 1 ครั้งในระหว่างการปลูก และถ้าสังเกตเห็นว่าต้นกัญชงต้นใดหรือในบริเวณใดที่มีใบเป็นสีออกสีเหลือง มากๆ ก็จะมีการนำเอาขี้เถ้าไปใส่รอบๆบริเวณโคนต้น หรือในบริเวณนั้นๆ ทันที จนกว่าใบของต้นกัญชงกลับมีสีเขียวอีกครั้งหนึ่ง
ประมาณ เดือนสิงหาคม-กันยายน ต้นกัญชงที่ปลูกก็จะเจริญเติบโตเหมาะกับการเก็บเกี่ยวเพื่อใช้สำหรับทำเส้น ใย โดยต้นกัญชงจะมีความสูงประมาณ 3 เมตร ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางมีเส้นรอบวงที่โคนต้นประมาณ 3.5- 4 เซนติเมตร (วัดจากลำต้นที่สูงจากพื้นดินประมาณ 12 เซนติเมตร)
การ เก็บเกี่ยวจะใช้มีดคมตัดที่โคนต้นกัญชงประมาณ 12 เซนติเมตร จากพื้นดินตัดกิ่ง(ถ้ามี) ออกให้หมด และตัดลำต้นตรงส่วนยอดของลำต้นที่อ่อนและมีสีเขียวจัดออกไป รวบรวมมัดทำเป็นฟ่อนแล้วนำกลับบ้าน
การ ตัดต้นกัญชงในแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องตัดหมดทั้งกอหรือหมดทั้งแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม (ความแก่-ความอ่อน) ของต้นกัญชงที่จำทำการตัด อย่างไรก็ตามเส้นใยจากต้นกัญชงที่มีอายุมากประมาณ 5 เดือนขึ้นไป ถึงแม้ว่าจะมีขนาแส้นรอบวงประมาณ 3.5- 4 เซนติเมตร ตามที่ต้องการก็ตาม ชาวเขาเผ่าม้งกล่าวว่าเส้นใยที่ได้จากต้นกัญชงแก่มีคุณภาพต่ำไม่เหมาะสมที่ เอาไปใช้ในการทอผ้า
ต้น กัญชงที่ถูกตัดจะถูกนำเอามาตากแดดจนแห้งสนิท แต่ถ้าช่วงที่เก็บต้นกัญชงมาจากไร่ มีฝนตกหนักก็จะนำต้นกัญชงที่ตัดมาไปย่างไฟให้แห้ง ซึ่งจะต้องใช้เวลาการย่างประมาณ 6-7 วัน
ภาย หลังจากที่ต้นกัญชงแห้งแล้วก็จะนำไปวางกองพื้นทำแนวตั้งกับพื้นดินภายใน บริเวณบ้านที่ไม่มีความชื้น เพราะถ้ามีความชื้นจะทำให้ต้นกัญชงเกิดเชื้อราที่เปลือกนอก จะทำให้การลอกเปลือกออกจากลำต้นยาก และเส้นใยที่ได้ยังมีคุณภาพต่ำ เปื่อยง่ายไม่เหมาะกับการทอเป็นผ้า
การ ปอกเปลือกเพื่อลอกเอาเส้นใยกัญชงออกจากลำต้น ใช้วิธีนำต้นกัญชงมาหักตอนกลางลำต้นกลายๆแห่ง ใช้ขาดจากกันแล้วใช้มือลอกเปลือกลำต้นออก เพื่อให้ได้เส้นใยที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ชาวเขาจะแบ่งเปลือกต้นออกเป็น 4 ส่วน ด้วยกัน แล้วจึงลอกเปลือกออกจากลำต้น เส้นใยที่ลอกในช่วงนี้จะเป็นแผ่นยาวๆสีเขียว เมื่อลอกเปลือกได้จำนวนหนึ่งก็จะทำการมัดรวมกันเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ให้ถูกความชื้นอย่างเด็ดขาด
การ ย่างเปลือกที่ลอกจากลำต้นอีกครั้งเนื่องจากเส้นใยถูกความชื้นนั้น จะทำให้เสียคุณภาพไม่สามารถนำเอาไปผ่านกรรมวิธีให้เป็นด้ายทอผ้าได้ เพราะเส้นใยจะกรอบเปื่อยแต่ก็ยังสามารถเอาเปลือกที่ผ่านการย่างนำมาฟั่นเป็น เชือกเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆได้
เปลือก ของต้นกัญชงที่แห้งสนิทจะถูกนำมาฉีกเป็นเส้นเล็กๆเพื่อที่จะให้ได้เส้นด้าย ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับการทอเป็นผ้า โดยทั่วๆไปเส้นใยที่ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนนั้นจะสามารถฉีกออกเป็นเส้นใยขนาดเล็กประมาณ 16-20 เส้น (ส่วนละ 4-5 เส้น)
หลัง จากนั้นจะนำเส้นใยกัญชงลงตำในครกกระเดื่อง เพื่อให้เปลือกนอกที่หุ้มติดกับเส้นใยหลุดออกไป เหลือแต่เส้นใยแท้ๆซึ่งจะอ่อนสะดวกแก่การปั่นและกรอในขบวนการขั้นต่อไป
เส้น ใยที่ผ่านการตำเอาเปลือกออกจะถูกนำเอามาพับม้วนเป็นก้อนโดยใช้เครื่องมือ เฉพาะที่มีไม้ขนาดนิ้วก้อยเป็นแกนและมีที่ถือทำด้วยหวายถัก ขณะที่เส้นใยถูกนำมาม้วนพันแกนไม้จะมีการต่อเส้นใยแต่ละเส้น โดยใช้นิ้วมือขยี้ส่วนปลายให้ต่อติดเป็นเนื้อและเส้นเดียวกัน เมื่อได้เส้นใยเต็มแกนแล้วก็จะถอดม้วนเส้นใยเก็บไว้ และจะทำเช่นนี้จนเส้นใยที่มีอยู่ถูกนำมาม้วนเป็นก้อนหมด
หลัง จากนั้นก็จะนำเอาก้อนเส้นใยไปจุ่มน้ำร้อนให้เส้นใยอ่อนตัว แล้วจึงนำเอาเส้นใยไปเข้าเครื่องกรอเส้นใยแบบของชาวเขาเผ่าม้งที่มีแกนด้าย อยู่ 4 แกน เมื่อกรอเส้นใยเข้าแกนจนเต็มแกนแล้วก็จะนำเส้นใยเข้าผ่านเครื่องปั่นเส้นใย แบบชาวเขาเผ่าม้ง
เส้น ใยที่ผ่านการปั่นจากเครื่องจะถูกกองวางเป็นระเบียบเป็นรูปวงกลมกับพื้นดิน ซึ่งเมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการก็จะใช้หวายมัดเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นใยพัน กันจนยุ่งเหยิง ในระหว่างขั้นตอนเหล่านี้ถ้าเกิดมีเส้นใยขาดจากกัน ก็จะมีการต่อเส้นใยให้เป็นเส้นเดียวกันตลอดเวลา
เส้น ใยแต่ละมัดที่ได้จะถูกนำไปต้มเคี่ยวในน้ำต่าง(น้ำขี้เถ้า) ในกระทะใบบัวเป็นเวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง แล้วจึงนำเอาไปหมักไว้ในขี้เถ้าเปียกอีกประมาณ 2-3 วัน
เส้นใยที่ผ่านการหมักแต่ละมัดจะถูกนำไปซักล้างด้วยน้ำจนดูว่ามีสีขาวสะอาด (สีของเส้นใยธรรมดาจะไม่เป็นสีขาวบริสุทธิ์)
ถ้ายังเห็นว่าเส้นใยยังมีสีไม่สะอาดก็จะนำเอาไปหมักขี้เถ้าเปียกอีกครั้ง แล้วจึงนำเอามาซักทำความสะอาดอีกครั้ง
เส้นใยที่ซักจนสะอาดแล้วจะถูกนำไปเข้าเครื่องรีดที่เป็นเครื่องมือ ประกอบด้วย ท่อนไม้กลมและก้อนหินแบน
วิธี การรีดจะนำเอามัดเส้นใยไปวางบนขอนไม้ที่นอนอยู่บนพื้นดินแล้วเอาก้อนหินขึ้น ทับซึ่งผู้นวดจะต้องขึ้นไปยืนบนก้อนหิน ถ่างขาเหยียบส่วนปลายของก้อนหินทั้งสองข้างทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าแต่ละข้าง ในเวลาที่สม่ำเสมอคล้ายกับการเล่นไม้กระดก (see saw) เส้นดายจะถูกบดอยู่ระหว่างท่อนไม้และแผ่นหินคล้ายๆกับการ บดด้วยลูกกลิ้ง (roller)
เครื่อง มือจะถูกวางไว้ใกล้ๆกับต้นไม้หรือเสาไม้ เพื่อความสะดวกในการนวดเพราะในระหว่างการนวดผู้นวดต้องใช้มือจับโดนไม้หรือ เสาไม้อยู่ตลอดเวลา มิฉะนั้นอาจจะพลัดตกจากเครื่องนวดได้
ใน ระหว่างการนวดจะต้องระวังอย่าให้เส้นใยแห้งต้องหมั่นใส่น้ำให้เปียกชื้นอยู่ เสมอเพราะถ้าแห้งไปเส้นใยจะถูกบดจนขาดจากกัน เกิดความเสียหายได้
หลัง จากรีดจนแน่ใจว่าเส้นใยที่ได้อ่อนนุ่มตามที่ต้องการแล้วก็จะนำเอาไปซักล้าง ทำความสะอาดด้วยน้ำอีกเป็นครั้งสุดท้าย แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท
เส้น ใยที่ผ่านมาถึงขั้นตอนนี้จะถูกนำเอาไปเข้าเครื่องปั่นให้เป็นเส้นด้าย เส้นด้ายที่ออกจากเครื่องปั่นจะถูกวางอย่างเป็นระเบียบ (ทรงกลม) ในกระบุงแล้วทำการมัดเพื่อให้มีขนาดตามที่ต้องการ นำไปเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการทอผ้าต่อไป
อย่าง ไรก็ดีถึงแม้ว่าเส้นด้ายจะผ่านกรรมวิธีการปั่น และการตรวจสอบคุณภาพของเส้นด้ายอย่างละเอียดแล้วก็ตาม ก่อนที่จะมีการทอจริงๆ จะมีการตรวจสอบกันอีกครั้งหนึ่ง
เครื่อง ทอผ้าหรือกี่ของชาวเขาเผ่าม้งแตกต่างจากเครื่องทอผ้าของชาวเขาเผ่าอื่น และสลับซับซ้อนซึ่งผู้ที่จะใช้เครื่องทอผ้าชนิดนี้ตอ้งผ่านการฝึกปรือมาเป็น เวลานานกว่าจะใช้ได้ ซึ่งไม่เหมือนกับเครื่องทอผ้าของชาวเขาเผ่าอื่น
โดย ทั่วๆ ไปขนาดหน้ากว้างของผ้าใยกัญชงที่ถูกทอโดยเครื่องทอผ้าของชาวเขาเผ่าม้ง มักจะมีขนาดมาตรฐาน โดยจะมีขนาดของความกว้างประมาณ 10-12 นิ้ว ไม่กว้างกว่านี้ (ทอใช้เอง) ผ้าที่ได้เป็นสีขาวนี้สำหรับชาวเขาเผ่าม้งขาว สามารถนำไปตัดเย็บเป็นกระโปรงผู้หญิงได้ทันที แต่ชาวเขาเผ่าม้งดำจะย้อมให้มีสีน้ำเงิน และทำลวดลายบาติค (batik)
วัสดุที่ใช้ในการย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำเงินประกอบด้วย ต้นฮ่อม Baphicacanthus cusia Brem. ซึ่งปลูกทั่วๆไปในหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งเพื่อใช้ในการย้อมสีผ้าให้เป็นสี น้ำเงิน และสามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรได้อีกด้วย ปูนขาวที่ทำเองจากการเผาหินปูน ขี้เถ้า เหล้า และมีพันธุ์ไม้ป่าใส่ผสมไปอีก 2-3 ชนิด
การ ย้อมสีผ้าใยกัญชงนับว่าเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ผิดกับขั้นตอนของการผลิตเส้นด้ายจากใยต้นกัญชง ต้องใช้ความชำนาญสูง การย้อมสีนอกจากจะมีการย้อมสีผ้าทอแล้ว ชาวเขาเผ่าม้งยังมีการย้อมสีเส้นด้ายที่ผ่านเครื่องปั่นครั้งสุดท้าย เพื่อใช้เป็นด้ายสำหรับปักเย็บเสื้อผ้า
ต้น กัญชงที่ถูกปลูกเพื่อการเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะปลูกกันเพียง 10-20 ต้น จะถูกปล่อยให้แก่และเก็บเมล็ดประมาณปลายเดือน ธันวาคม-มกราคม โดยทั่วๆไป ต้นกัญชงที่โตเต็มที่ลำต้นจะมีเส้นรอบวงประมาณ 9.5-12 เซนติเมตร หลังจากเก็บช่อเมล็ดแล้วก็จะมีการนำมานวดด้วยเท้า เพราะถ้าใช้ไม้นวด (ตี) จะทำให้เมล็ดกระเด็นออกจากภาชนะที่ใช้รองนวดและเก็บรวบรวมลำบาก
การ เก็บจะต้องเก็บในช่วงที่เมล็ดสุกแก่พอดี เพราะถ้าเก็บเร็วไปเมล็ดเมื่อนำไปเพาะปลูกจะไม่งอก และถ้าทิ้งไว้ให้เมล็ดแห้งจนเกินไปนกจะกินหมด เพราะนกชอบกินเมล็ดกัญชงมาก
เมล็ด พันธุ์ที่เก็บจากต้นพันธุ์จะถูกรวบรวมเก็บรักษาไว้ในภาชนะต่างๆเช่นใน น้ำเต้า กระบอกไม้ไผ่ ปิ๊ป ถุงหรือในถุงที่ทำจากเส้นใยกัญชงเอง
จากการสำรวจและคำนวณอย่างคร่าวๆ ในแปลงกัญชงที่บ้านชาวเขาเผ่าม้งป่าคา กิ่งอำเภอพบพระ จังหวัดตาก (2528) พบว่าในพื้นที่ ¼ ไร่ ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ผลผลิตเส้นใยกัญชงที่ลอกออกจากต้นที่นำไปตากแห้งสนิทจะได้ประมาณ 50 กิโลกรัม สำหรับผลผลิตเฉลี่ยของเส้นใยกัญชงในต่างประเทศได้ผลผลิตประมาณ 150-400 กิโลกรัม ต่อไร่ (Purseglove, 1974: 42) นับว่าเป็นเส้นใยที่ผลิตได้โดยชาวเขาที่จังหวัดตากยังค่อนข้างต่ำอยู่
ถึงแม้ว่ากัญชงและกัญชาจะเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ Cannabis sativa Lin.ก็ตาม แต่จากแหล่งกำเนิดและการกระจายตัวของมันในบริเวณที่แตกต่างกัน โดยกัญชงมีการกระจายตัวอยู่ในบริเวณที่ถูกจัดแบ่งทางวิชาการเป็น European Siberian Centre of Diversity แล้วแพร่กระจายเข้าสู้ประเทศจีนในฐานะของพืชที่ใช้ประโยชน์ในการทำเส้นใยและ น้ำมัน ส่วนกัญชา ที่กระจายอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า Hindustani Centre of Diversity และถูกปลูกเพื่อให้เป็นพืชเสพติด
พืช ทั้งสองชนิดที่มีการกระจายตัวออกจากแหล่งกำเนิดเดิมในเอเชียกลางไปสู่แหล่ง กระจายตัวที่มีภูมิอากาศแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 4,500 ปีนั้น ทำให้คิดได้ว่าทั้งกัญชงและกัญชาน่าจะมีคุณสมบัติหลายๆอย่าง แตกต่างกันออกไปตามพืชได้มีการปรับตัวของมันเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมระยะ เวลาหลายพันปีดังกล่าว
ชาว เขาเผ่าม้ง ที่เป็นชาวเขาเผ่าที่มีความผูกพันกับกัญชงมาเป็นเวลาอันยาวนานจนกระทั่งถึง ปัจจุบันนี้ จากประสบการณ์อันยาวนานของพวกเขาทำให้พวกเขาสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่าง ต้นกัญชงและต้นกัญชาที่ปลูกบนที่สูงได้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะรู้จักกับต้นกัญชามาเป็นเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาก็ตาม (พวกชาวเขาเผ่าม้งที่จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดตาก ที่อาศัยอยู่ใกล้ๆ กับที่ทำการศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตากและที่บริเวณภูทักเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้รู้จักกับต้นกัญชาที่มีผู้นำไปปลูกบนที่สูง เพื่อใช้ในการปรุงรสอาหารเป็นครั้งแรกในปี 2508-2509 ซึ่งถึงแม้ว่ากัญชาจะเป็นพืชใหม่แต่พวกเขาก็สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างบาง ประการระหว่างต้นกัญชงและต้นกัญชาได้) ประกอบกันกับได้มีชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดเชียงใหม่ หลายหมู่บ้านที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีการปลูกกัญชาเพื่อขายให้แก่นักท่อง เที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งทำให้ชาวเขาในหลายๆ หมู่บ้านสามารถกำหนดจำแนกความแตกต่างระหว่างพืชทั้งสองชนิดได้เด่นชัดขึ้น

 ความแตกต่างระหว่างกัญชงและกัญชาที่พวกชาวเขาเผ่าม้งสังเกตเห็นเองมีดังนี้

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกัญชงและกัญชาบนที่สูงจากประสบการณ์ของชาวเขาเผ่าม้ง
นอก จากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับพื้นที่ ที่ใช้สำหรับการปลูกระหว่างกัญชงและกัญชาอีกประการหนึ่ง คือในการปลูกกัญชงเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้น ชาวเขาจะปลูกแบบต่างๆแต่มีจำนวนต้นเพียง 10-20 เท่านั้น ในกรณีที่พบว่าถ้ามีการปลูกห่างๆและไม่รู้ว่าพืชนั้นเป็นกัญชงหรือกัญชา ขณะเดียวกันก็พบว่าพื้นที่ที่ปลูกพืชนั้นมีขนาดใหญ่ ขอให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่านั่นคือกัญชาเป็นต้น

จาก ความสับสนในการจำแนกความแตกต่าง ระหว่างต้นกัญชงที่ปลูกเพื่อต้องการเส้นใย และต้นกัญชาที่ปลูกเพื่อเป็นพืชเสพติดนั้น ได้สร้างความยุ่งยากให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วโลก ซึ่งผู้เขียนได้รับทราบจาก Dr. Edward F. Anderson ศาสตราจารย์ทางชีววิทยาของ Whitman College ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม 2529 ในการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ และนักพฤษศาสตร์กำลังพยายามศึกษาหาความแตกต่างระหว่างพืชทั้งสองนี้เพื่อที่ จะแยกออกจากกันเป็นเอกเทศในโอกาสต่อไป

ปัจจุบัน กัญชงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ (โดยบังเอิญ) ชนิดหนึ่งบนพื้นที่สูงโดยเฉพาะชาวเขาเผ่าชาวเขาเผ่าม้ง ถึงแม้ว่ากัญชงจะเป็นพืชที่ไม่เคยมีหน่วยงานที่ทำการพัฒนาบนที่สูงให้ความ สนใจมาก่อนก็ตาม ทั้งนี้มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ ได้มีโอกาสเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ นิยมซื้อผ้าใยกัญชงและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใยกัญชงมาก ซี่งมีเหตุผลหลายประการที่ทำให้ผ้าใยกัญชงเป็นที่นิยมในท้องตลาด เช่น ผ้าทำจากใยกัญชงมีความทนทานมากกว่าผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์ ผ้าที่ทำจากฝ้าย หรือผ้าที่ทำจากฝ้ายผลมกับใยสังเคราะห์ และประการที่สำคัญชาวต่างประเทศซึ่งแทบจะทั้งหมดเป็นชาวยุโรปและอเมริกาซึ่ง เป็นประเทศอุตสาหกรรม ให้ความสนใจมากก็คือ มันเป็นผ้าที่ไม่ผ่านขบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักร แต่เป็นการผลิตด้วยมือทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นของหายากและมีราคาสูงสำหรับประเทศอุตสาหกรรม

ราคาของผ้าทอใยกัญชง ที่วางขายในตลาดจังหวัดเชี